รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01538


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cymbopogon nardus (L.) Rendle

สกุล

Cymbopogon Spreng.

สปีชีส์

nardus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Andropogon confertiflorus Steud.

ชื่อไทย
ตะไคร้หอม
ชื่อท้องถิ่น
จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ)/ ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ชื่อสามัญ
Citronella grass
ชื่อวงศ์
POACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก พิชอายุหลายปี เหง้าอ้วนสั้น ลำต้นเป็นก่อ สูงได้ถึง 2.5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม.

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ กาบใบมีสีม่วงแดงที่บริเวณโคน ผิวเรียบ เกลี้ยง ใบสีเขียวเข้ม ถึงสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 30-100 ซม. แผ่นใบมีขนสาก บริเวณใกล้เส้นกลางใบเรียบ โคนใบแคบ ปลายใบยาว เรียวแหลม ลิ้นใบขนาด 2-3 มม.

ดอก ช่อแยกแขนง ขนาดใหญ่ เบียดกัน ยาว 60-90 ซม. สีน้ำตาลแดง แยกเป็นช่อดอกแบบกระจะ ยาว 1.0-1.5 ซม. ช่อดอกย่อยไม่มีก้าน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก 

ผล ผลแห้งไม่แตก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ปลูกได้ทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน และแอฟริกา

การกระจายพันธุ์

หมู่เกาะอันดามัน บาฮามาส หมู่เกาะบิสมาร์ก บอร์เนียว บราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ บราซิลตะวันตก-ตอนกลาง เกาะคาโรไลน์ จีนตอนใต้-ตอนกลาง จีนตะวันออกเฉียงใต้ โคลัมเบีย คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน อียิปต์ ฟิจิ ฟลอริด้า ไห่หนาน เฮติ ฮอนดูรัส จาเมกา ชวา หมู่เกาะลีเวิร์ด หมู่เกาะซุนดาน้อย มลายา มัลดีฟส์ มาลูกู มาเรียนา เม็กซิโก หมู่เกาะนันเซ นิวกินี หมู่เกาะนิโคบาร์ ไนจีเรีย นีอูเอ ฟิลิปปินส์ เปอร์โตริโก สุมาตรา ไต้หวัน และตรินิแดด-โตเบโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
พฤศจิกายน-เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ทั้งต้น ไล่ยุงและแมลง น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนของยุงก้นปล่องและยุงรำคาญได้ ทั้งต้น มีรสปร่า ร้อนขม แก้ริดสีดวงในปาก ขับโลหิต ทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้ง ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง

หง้า เป็นยาบีบมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้ คนมีครรภ์ห้ามรับประทาน ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ แก้อาเจียน แก้ริดสีดวงตา แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ 

เหง้า ใบ และกาบ นำมากลั่นได้น้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นเครื่องหอม เช่น สบู่ หรือพ่นทาผิวหนังกันยุง แมลง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “ตะไค้หอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/mplant/searchlocalname.aspx (22 พฤศจิกายน 25559)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ตะไคร้หอม.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=47 (13 พฤศจิกายน 2559)

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ตะไคร้หอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cymbona.html (13 พฤศจิกายน 2559)

Flora of China. “Cymbopogon nardus .” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200025100 (13 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Cymbopogon nardus (L.) Rendle” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-406227 (13 พฤศจิกายน 2559)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Cymbopogon nardus (L.) Rendle.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:396972-1 (31 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้