รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01545


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cynometra sp.

สกุล

Cynometra L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะคะดอยสุเทพ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 8-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกเป็นสีน้ำตาลเทาผิวขรุขระไม่แตกสะเก็ด 

ใบ เป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว ใบแตกจากกิ่งแบบสลับ จำนวนใบย่อย 1-2 คู่ ก้านใบประกอบยาว 4-6 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.6 ซม. ใบเป็นรูปไข่ยาวไม่สมมาตร ปลายใบแหลม ฐานใบสอบเข้าแหลม สีของใบมีสีเขียว ผิวเรียบ ขอบใบเรียบ ขนาดของใบย่อย 2-3 x 2-6 ซม.

ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบ ความยาวของช่อดอก 0.7-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบไม่เท่ากัน ดอกมีสีขาว

ผล เป็นผลเดี่ยวเป็นฝักสั้นๆ เป็นรูปรีแต่ผิวของผลขรุขระเป็นรอยย่นสีน้ำตาลเขียวขนาดของผล ยาว 1.5-4.0 ซม. กว้าง 2.5 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามชายป่าหรือป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด

พืชสกุล Cynometra พบในอเมริกาเขตร้อน แอฟริกา มาดากัสการ์ เอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชให้ร่มเงา

-

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2560. “มะคะ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=มะคะ&typeword=group (9 กันยายน 2560)

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. “มะคะ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://digital.forest.ku.ac.th/RBIO/index_.php?action=biodiversity&action2=plant&id=33 (10 พฤษภาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017.  “Cynometra ramiflora.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Cynometra+ramiflora (10 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้