รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00152


ชื่อวิทยาศาสตร์

Adiantum sp.1

สกุล

Adiantum L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
เฟินก้านดำ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
PTERIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สกุลเฟินก้านดำ

ต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ทอดนอน แตกสาขา

ใบ: รูปร่างทั้งใบมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปใบหอก รูปไข่ รูปพัด ใบเป็นใบประกอบขนนก 1-4 ชั้น และมีเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปสี่เหลี่ยม รูปกลม รูปพัด ไปจนถึงรูปลิ่ม ไม่มีเส้นกลางใบ มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน แผ่นใบย่อยอาจมีหรือไม่มีก้านใบย่อย ก้านใบแข็งแรงส่วนใหญ่มีสีดำเป็นมัน 

สปอร์: ซอไรรูปไตหรือครึ่งวงกลม หรือรูปขอบขนาน อยู่บริเวณขอบใบย่อยและถูกปิดด้วยอินดูเซียมเทียม (false indusium) ซึ่งเกิดจากการพับตัวเข้ามาของเนื้อเยื่อขอบใบย่อยด้านนอก

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง

วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก

น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ

ถิ่นกำเนิด

ไม่สามารถระบุได้

การกระจายพันธุ์

สกุลก้านดำ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยพบมากในทวีปอเมริกาใต้ พบที่ไทย 15 ชนิด

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้สปอร์

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่ ปลูกเป็นไม้กระถาง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2554. เฟินโครงการหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 1. ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด. เชียงใหม่. 198 น.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "เฟินก้านดำ." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=เฟินก้านดำ&typeword=group (4 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้