รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01556


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dalbergia lanceolaria subsp. paniculata (Roxb.) Thoth.

สกุล

Dalbergia L.f.

สปีชีส์

lanceolaria subsp. paniculata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Dalbergia nigrescens Kurz

Amerimnon paniculatum (Roxb.) Kuntze

ชื่อไทย
ฉนวน
ชื่อท้องถิ่น
กระพี้ ไฮปันชั้น (ลำปาง)/ กระพี้โพรง (ราชบุรี)/ สนวน (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Kratie rosewood
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 10-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีเทาแกมขาว แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ และโคนต้นมักเป็นพูพอนสูง เปลือกชั้นในสีน้ำตาล-ส้ม

ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ใบย่อย มี 9-15 ใบ กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 2.5-4.5 ซม. ปลายใบโค้งมน โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ด้านบนผิวใบ เกลี้ยง แต่ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม เส้นใบ มี 7-9 คู่ ชัดเจน โคนก้านใบอ่อนมีหูใบ 1 คู่ รูปสามเหลี่ยม แต่หลุดร่วงง่าย ข้อสังเกตเมื่อใบแก่แห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล-ดำ 

ดอก เป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบหรือปลายกิ่ง สีขาวหรือขาวแกมชมพู กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง มีขนหนา ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปผีเสื้อ สีขาว มี 5 กลีบ เกสรเพศผู้ มี 10 อัน เกสรเพศเมีย มี 1 อัน อับเรณูติดกันเป็น 2 กลุ่ม สีเหลือง

ผล ฝักแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน แบนสีดำหรือสีน้ำตาล ขนาด 6-5-8 x 2.3-2.5 ซม. มี 1-2 เมล็ด รูปไต สีน้ำตาล-ดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าเบญจพรรณทั่วไปที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 50-500 ม.

ถิ่นกำเนิด

 

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย เวียดนาม และเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก

การกระจายพันธุ์

ชวา มลายา ปากีสถาน และแทนซาเนีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้

เปลือกต้น ผสมลำต้นตาปู ลำต้นตาเสือ ต้มน้ำดื่ม แก้คอพอก
เนื้อไม้ มีการใช้ทำฟืนกันบ้าง และใช้ทำเยื่อกระดาษ
ต้น ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นต้นไม้สำหรับเพาะเลี้ยงครั่ง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “ฉนวน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=98 (10 พฤษภาคม 2560)

ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. 2013. “Dalbergia nigrescens Kurz” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=189 (10 พฤษภาคม 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ฉนวน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=610&view=showone&Itemid=59 (10 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Dalbergia lanceolaria subsp. paniculata (Roxb.) Thoth.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl/record/ild-32316 (10 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dalbergia lanceolaria L.f.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:490291-1 (30 ตุลาคม 2560)

U.S. National Plant Germplasm System. “Dalbergia lanceolaria L. f. subsp. paniculata (Roxb.) Thoth.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://npgsweb.ars-grin.gov/gringlobal/taxonomydetail.aspx?424844 (9 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้