รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01580


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium anosmum Lindl. var. superbum

สกุล

Dendrobium Sw.

สปีชีส์

anosmum

Variety

superbum

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
เอื้องสายหลวงฟิลิปปินส์
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โอโนมานู ที่เราเรียกกันใน ปัจจุบันนั้นเริ่มต้นมาจากประเทศฮาวาย ชื่อของ โอโนมานู นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า Honohono ในเมืองไทยเลยโดนกร่อนเสียงจนกลายเป็นคำว่า โอโนมานู ไม่ก็เรียกสั้น ๆ กันว่า โอโน

ลำต้น ลำลูกกล้วยทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. ยาว 60-100 ซม.

ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบแหลม

ดอก ขนาดที่ใหญ่กว่าเอื้องสายของไทยเล็กน้อย สีสันชมพูชัดกว่า บริเวณปาก โอโนมานู จะมีปากที่ม้วนกลม ปกปิดด้วงตากลมแดงไว้ด้านใน และมีปลายจวักแหลมเล็กน้อยตรงปลาย นอกจากสีชมพูออกบานเย็นหน่อย ๆ แล้ว เรายังพบสีประหลาด ๆ อีก 2-3 สี คือ (สีขาวล้วน หรือเผือก) (สีขาวตาแดง เซมิอัลบา) และ (เซมิอัลบา แบบ ลายด่าง) ซึ่งเป็นของชาวต่างชาติชื่อ Callman Au, Mililani

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

การปลูกเลี้ยงในกระเช้า ควรประกอบไปด้วย ถ่าน 60% กาบมะพร้าวสับ 40% หรือปลูกให้ผูกติดตามต้นไม้หรือขอนไม้ ชอบแสงประมาณ 50-60 % 

ถิ่นกำเนิด

ฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์

ประเทศเขตร้อน กึ่งร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์ - มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

โครงการรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี. “เอื้องสายหลวง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.agri.ubu.ac.th/research_web/total_orchid/line=27.html (11 พฤษภาคม 2560)

Orchidtropical. 2010. “โอโนมานู Dendrobium superbum var.anosmum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.orchidtropical.com/dendrobium-superbum.php (11 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้