รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01649


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium findlayanum Par. & Rchb. f.

สกุล

Dendrobium Sw.

สปีชีส์

findlayanum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
เอื้องพวงหยกตาดำ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสีเขียวอ่อน ผิวเป็นมันใส ปล้องโป่ง ส่วนโคนคอด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. ยาว 25-40 ซม.

ใบ ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 5-6 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกมีสีขาวปลายกลีบแต้มสีชมพูหรือม่วงอ่อน กลีบปากมีแต้มใหญ่ สีเหลืองและมีแต้มสีม่วงแดงซ้อนทับตรงกลางสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-7 ซม. มีกลิ่นหอม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบทางภาคเหนือที่ระดับความสูง 500 ม. เหนือระดับทะเลขึ้นไป

ถิ่นกำเนิด

จีนตอนใต้-ตอนกลาง ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน และจีนตอนใต้-ตอนกลาง

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เอื้องพวงหยก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1301 (15 พฤษภาคม 2560)

Blog Gang. 2004. “เอื้องพวงหยก(ตาดำ) Dendrobium finlayanum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jae-hom47&month=03-03-2010&group=2&gblog=37 (15 พฤษภาคม 2560)

Marlow Orchids. “Dendrobium findlayanum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://marlowsorchids.com/inc/sdetail/1264/4305 (13 กันยายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dendrobium findlayanum C.S.P.Parish & Rchb.f.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:627429-1 (30 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้