รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06781


ชื่อวิทยาศาสตร์

Durio zibethinus L."Chomphu Sri"

สกุล
Durio
สปีชีส์
Durio zibethinus
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
ชื่อไทย
ทุเรียนพันธุ์ชมพูศรี
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
Chomphu Sri Durian
ชื่อวงศ์
MALVACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ทรงพุ่มโปร่งค่อนเล็กและไม่สูงนัก ลำต้นมักไม่ตั้งฉากกับพื้นดิน การแตกของกิ่งไม่ค่อยเป็นระเบียบ

ใบ  ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวและมีขนาดใหญ่ ส่วนกว้างประมาณ 6.5 ซม. ยาวประมาณ 16 ซม. ขอบใบเรียว ฐานใบแหลมป้านปลายใบแหลม แผ่นใบค่อนข้างราบแต่ไม่สม่ำเสมอ ใบเขียวแก่เป็นมัน 

ดอก รูปทรงของดอกค่อนข้างยาวหัวท้ายมน ก้านดอกและก้านดอกจะเรียว ผลค่อนกลมยาว มักจะมีพูหลอก หนามมีขนาดกลาง ฐานหนามค่อนข้างใหญ่ ปลายหนามแหลม

ผล ผลมีสีเขียวหรือน้ำตาล ก้านผลมีขนาดยาวปานกลาง เปลือกผลบาง ในแต่ละพูมี 1-3 เมล็ด เมล็ดขนาดเล็กหรือลีบ เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบสีเหลืองจัด รสหวานมัน กลิ่นแรง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิด
การกระจายพันธุ์
การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชเศรษฐกิจ

-ผล สามารถรับประทานได้ทั้งสุก และดิบ ผลดิบนำไปแปรรูปโดยการทอด หรือฉาบคล้ายกล้วยฉาบ เผือกฉาบ ส่วนผลสุก รับประทานสด หรือนำไปแปรรูปโดนการกวน เป็นทุเรียนกวน

หมายเหตุ
แหล่งอ้างอิง

ศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี.  2558. “ทุเรียนพันธุ์ชมพูศรี” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.duriannon.com/14549954/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5(26 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Durio zibethinus L."Chomphu Sri".” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (26 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้