รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01852


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium sp.

สกุล

Dendrobium Sw.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
-
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Dendrobium รหัส Den.011
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นกล้วยไม้ลูกผสม

ต้น มีลำต้นเทียม (pseudobulb) หรือลำลูกกล้วย อยู่บนส่วนของลำต้นที่แท้จริง ลำต้นที่แท้จริงเป็นส่วนที่เรียกว่าเหง้า (rhizome) มีการเจริญเติบโตไปทางด้านข้าง (sympodial) ราก เป็นรากอากาศ เนื่องจากเป็นพวกที่เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้หรือโขดหิน

ใบ มีจำนวนได้ตั้งแต่ 1 ใบ จนกระทั่งจำนวนมากต่อต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ใบเป็นรูปไข่ เรียวยาว มีขนาดต่างๆกัน มีทั้งลักษณะใบแบน กลม ม้วนงอ หรือเป็นร่องลึกตรงกลาง ส่วนปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม มีทั้งพวกที่มีการผลัดใบ หรือใบเขียวตลอดปี

ดอก ช่อดอก มีช่อดอกทั้งแบบช่อสั้น หรือช่อยาว ช่อห้อยหรือตั้งตรง โดยทั่วไปแล้ว ช่อดอกเกิดจากส่วนข้างของลำต้นเทียมบริเวณข้อใกล้ส่วนยอด มีบางชนิดที่ช่อดอกเกิดจากส่วนปลายของลำต้นเทียม พวกที่มีการผลัดใบมีแนวโน้มในการสร้างช่อดอกจากส่วนของข้อที่อยู่บนลำต้นเทียม เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มดอกก็ได้ ในขณะที่พวกที่ไม่มีการผลัดใบ มีการสร้างช่อดอกบนส่วนของ ลำต้นเทียมที่อยู่ใต้บริเวณที่มีใบอยู่ ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของดอกกล้วยไม้สกุลหวายคือ มีส่วนของปาก (lip) เชื่อมต่อกับกลีบเลี้งคู่ข้างชั้นนอก (lateral sepals) ที่เรียกว่า เดือย (spur)

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

การปลูกเลี้ยงโดยรวม โดยทั่วไป ความต้องการแสง ประมาณ 50% ของแสงแดดปกติ ส่วนของความชื้นควรอยู่ประมาณ 80%

วัสดุปลูกที่ใช้ ควรเป็นวัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถผูกติดไว้กับกิ่งไม้ หรือเปลือกไม้ได้

ถิ่นกำเนิด

กล้วยไม้สกุล Dendrobium มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบเอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

การกระจายตัวของกล้วยไม้สกุล Dendrobium พบได้ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงนิวกีนี และ ออสเตรเลีย ทางด้านควีนส์แลนด์ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ไปจนถึงนิวซีแลนด์ และตาฮิติ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่ เป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “เดนโดรเบียม (Dendrobium).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359405/1dendrobium.html (3 มิถุนายน 2560)

Encyclopædia Britannica. 2017. “Dendrobium.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.britannica.com/plant/Dendrobium (14 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้