รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01862


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium 'Super Red2' x Dendrobium 'Classic Red'

สกุล

Dendrobium Sw.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
-
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Nobile รหัส SOCS.001
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กล้วยไม้ลูกผสมในกลุ่ม Dendrobium Nobile ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า Dendrobium Nobile hybrid หรือ Dendrobium Nobile type เป็นกล้วยไม้ลูกผสมหลายชั้น ส่วนใหญ่จะเป็นลูกผสมของ Dendrobium พันธุ์แท้ใน section Eugenanthe โดยมีสายเลือดหลักประกอบด้วย Dendrobium nobile Lindl. หรือเอื้องเก๊ากิ่ว

ลักษณะโดยรวมๆ ของลูกผสม Dendrobium Nobile ที่เห็นกันในปัจจุบันคือ

ต้น ลำต้นเป็นลำยาวประมาณ 30 ซม. ตั้งตรง ซึ่งที่จริงไม่ได้ตั้งตรง แต่ถูกค้ำยันให้ตั้งตรง

ดอก ดอกออกเป็นช่อละ 1-3 ดอกจากลำต้น ทีละหลายช่อ จนดูเหมือนลำต้นนั้นเองเป็นช่อดอกไปในตัว ดอกรูปค่อนข้างกลม กลีบดอกรูปรีเกือบกลม ที่จริงแล้วลักษณะกลีบดอกที่ค่อนข้างกลมนี้ ถูกคัดมาเพื่อให้คล้ายกลีบดอกของ Dendrobium ใน section Phalaenanthe ปากแผ่กว้างเกือบกลม ใหญ่เท่าๆ หรือใหญ่กว่ากลีบดอก 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

การปลูกเลี้ยงโดยรวม โดยทั่วไป ความต้องการแสง ประมาณ 50% ของแสงแดดปกติ ส่วนของความชื้นควรอยู่ประมาณ 80%

วัสดุปลูกที่ใช้ ควรเป็นวัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถผูกติดไว้กับกิ่งไม้ หรือเปลือกไม้ได้

ถิ่นกำเนิด

กล้วยไม้สกุล Dendrobium มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบเอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

การกระจายตัวของกล้วยไม้สกุล Dendrobium พบได้ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงนิวกีนี และ ออสเตรเลีย ทางด้านควีนส์แลนด์ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ไปจนถึงนิวซีแลนด์ และตาฮิติ

 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่ เป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก

หมายเหตุ

เมื่อเรียกกล้วยไม้ลูกผสมกลุ่มนี้ควรใช้คำว่า Nobile ขึ้นต้นคำด้วยอักษรตัวใหญ่ และไม่ใช้ตัว italic หรือตัวเอน ทั้งนี้เพื่อให้แตกต่างจาก Dendrobium nobile Lindl. (เอื้องเก๊ากิ่ว) ซึ่งเป็นกล้วยไม้พันธุ์แท้ในธรรมชาติ ในภาษาไทยก็ควรเรียกชื่อว่า ลูกผสมหวายโนบิเล หรืออาจเรียกว่า หวายโนบิเล 

แหล่งอ้างอิง

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “เดนโดรเบียม (Dendrobium).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359405/1dendrobium.html (16 มิถุนายน 2560)

Blog Gang. 2004. “หวายโนบิเล ตอนที่ 1.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pohmie&date=20-01-2008&group=2&gblog=19 (16 มิถุนายน 2560)

Encyclopædia Britannica. 2017. “Dendrobium.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.britannica.com/plant/Dendrobium (14 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้