รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01869


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium tortile Lindl.

สกุล

Dendrobium Sw.

สปีชีส์

tortile

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Dendrobium dartoisianum De Wild.

Dendrobium haniffii Ridl. ex Burkill 

ชื่อไทย
เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง
ชื่อท้องถิ่น
ตีนนก (เชียงใหม่)/ เอื้องเค้ากิ่ว เอื้องเค้ากิ่วแม่สะเรียง (ภาคเหนือ)/ เอื้องไม้ตึง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Twisted Dendrobium
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น กล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. ลำต้นค่อนข้างแบน เป็นสันเหลี่ยม กว้าง 1.4-1.8 ซม. โคนเรียวคอด ปล้องบิดเบี้ยวและมีร่องลึกตามแนวยาวของปล้อง โคนลำสอบแคบ เรียวยาว มักทิ้งใบเวลาเกิดดอก

ใบ ใบรูปรี แกมขอบขนาน ปลายแหลม อาจมีหยักตื้น กาบใบหุ้มปล้องต่อกัน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-15 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อ ที่ใกล้ปลายยอด จำนวน 2-3 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีม่วงอมแดงเรื่อๆ กลีบปากสีขาวครีมและมีขีดสีม่วงแดง โคนกลีบมีแต้มสีม่วงเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงกางออกและบิดเกลียวห่าง รูปใบหอกแกมรูปไข่ถึงรูปแถบขอบขนาน ปลายมนหรือแหลม กลีบดอกรูปใบหอกกว้าง ปลายแหลม กลีบปากรูปเกือบกลม ปลายแหลม ขอบกลีบใกล้โคนโค้งเข้าหากัน ผิวกลีบมีปุ่มเล็กทั่วกลีบ มีเดือยสั้น

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น
น้ำปานกลาง
แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม บังคลาเทศ ลาว มาลายา พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1316 (19 พฤษภาคม 2560)

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Dendrobium tortile Lindl. เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=663 (19 พฤษภาคม 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “เอื้องไม้ตึง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/d-tortile/ (19 พฤษภาคม 2560)

eMonocot. “Dendrobium tortile Lindl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://e-monocot.org/taxon/urn:kew.org:wcs:taxon:59308 (19 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Dendrobium tortile Lindl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-59308 (19 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dendrobium tortile Lindl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:628785-1 (29 ตุลาคม 2560)

Wikipedia. 2017. “Dendrobium tortile.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Dendrobium_tortile (14 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้