รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01959


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dianthus chinensis L.

สกุล

Dianthus L.

สปีชีส์

chinensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Dianthus altaicus Willd. ex Ledeb.

ชื่อไทย
แก้วลืมวาง
ชื่อท้องถิ่น
เก็งชุ้งล้อ (กทม.)
ชื่อสามัญ
Chinese pink
ชื่อวงศ์
CARYOPHYLLACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูง 30-50 ซม. ลำต้นตั้งตรง แตกเป็นพุ่ม 

ใบ ใบรูปหอก กว้าง 2-4 มม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเรียว ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกขนาด 1.6-1.8 ซม. มีสี แดง ม่วงแดง ชมพู ขาว ปลายกลีบเป็นแฉก กลีบเลี้ยง กว้าง 0.4-5.0 มม. ยาว 1.5-2.5 ซม

ผล ผลแตกเมื่อแห้ง ปลายแยกเป็นแฉก

เมล็ด สีดำขนาดเล็ก รูปกลม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ต้องการแสงแดดเต็มวัน ความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ยุโรป เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

บังคลาเทศ จีนตอนใต้-ตอนกลาง เชโกสโลวะเกีย และมากาดาน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ทำเป็นไม้กระถาง ตกแต่งสถานที่ และตามสวน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Flora of China. “Dianthus chinensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200007038 (22 เมษายน 2560)

flower's picture. 2016. “Dianthus Chinensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.flowerspicture.org/dianthus_chinensis.html (17 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Dianthus chinensis L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2764027 (22 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dianthus chinensis L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:153215-1 (25 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้