รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02012


ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros mollis Griff.

สกุล

Diospyros L.

สปีชีส์

mollis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะเกลือ
ชื่อท้องถิ่น
มักเกลือ (เขมร-ตลาด)/ ผีเผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Ebony tree
ชื่อวงศ์
EBENACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 30 ม. เปลือกต้นสีดำ แตกเป็นสะเก็ด กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบสอบ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีขน เส้นใบข้างมี 10-15 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1.0 ซม.

ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ มี 3 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 14-24 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีเหลืองใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 4 กลีบ กลีบดอกมี 4 กลีบ

ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.4-2.2 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดที่ขั้วผล ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเทาดำ

เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นวุ้นใส

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้ง ในป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา ลาว พม่า และไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

ทั้งต้น มีรสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตายซาง แก้กระษัย
ราก มีรสเบื่อเมา ฝนกับน้ำซาวข้าว กินแก้อาเจียน แก้ลมหน้ามืด แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษ ตานซาง ขับพยาธิ
เปลือกต้น มีรสเมาฝาด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง
แก่น มีรสฝาดเค็ม ขับพยาธิ แก้ตานซาง
ผล มีรสขื่นเฝื่อนฝาดเบื่อ กินขับพยาธิในลำไส้ และพยาธิทุกชนิด ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “มะเกลือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=90 (20 กันยายน 2560)

JSTOR. 2017. “Diospyros mollis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://plants.jstor.org/compilation/diospyros.mollis (20 กันยายน 2560)

Pl@ntUse. 2016. “Diospyros (PROSEA Dyes and tannins).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://uses.plantnet-project.org/en/Diospyros_(PROSEA_Dyes_and_tannins) (20 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Diospyros mollis Griff.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2770166 (6 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Diospyros mollis Griff.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:322726-1 (20 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้