Diplazium esculentum (Retz.) Sw.
Diplazium Sw.
esculentum
-
-
-
ลำต้น ลำต้นตั้งตรง สูงถึง 100-120 ซม. มีขนอ่อนปกคลุม
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ใบรูปสามเหลี่ยม ยาว 60-80 ซม. กว้าง 30-60 ซม. ใบย่อย 12-16 คู่ ปลายแหลม ใบย่อยรูปสามเหลี่ยม กว้าง 6-9 ซม. ยาว 16-20 ซม. โคนตัด ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย
สปอร์ สีน้ำตาลอมเหลือง
พบที่ระดับความสูง 100-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง ผักกูดมักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแสงแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน
มีถิ่นกำเนิดในภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก
เอเชีย
ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์
ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหาร แกง ผัด
ใบ ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ยอดช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดีขึ้น บำรุงร่างกาย แก้ไข้ตัวร้อน ดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดู ลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด บำรุงโลหิต บำรุงสายตา ช่วยความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี ขับปัสสาวะ แก้พิษอักเสบ โดยนำใบมารับประทานสด หรือต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ตกแต่งสถานที่ และสวน
-
Flora of China. “Diplazium esculentum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=233500586 (22 เมษายน 2560)
Hong-Pak.com. 2017. “ผักกูด ผักพื้นบ้าน ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยอดผักกูด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมู.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.hong-pak.com/articledetail.php?eid=418 (22 เมษายน 2560)
The Plant List. 2013. “Diplazium esculentum (Retz.) Sw.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26602792 (22 เมษายน 2560)
-
-
กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้