Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Dipterocarpus</em> <em>alatus</em> Roxb. ex G.Don</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Dipterocarpus gonopterus</em> Turcz.</p><p><em>Dipterocarpus incanus</em> Roxb.</p><p><em>Dipterocarpus philippinensis</em> Foxw.</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ต้น</strong> สูงได้ถึง 40 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนขาว หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด</p><p><strong>ใบ</strong> ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 8-35 ซม. ยาว 20-35 ซม. ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนประปราย มีหูใบขนาดใหญ่</p><p><strong>ดอก </strong>ออกเป็นช่อสั้น แบบช่อกระจะ ตามซอกใบปลายกิ่ง ช่อห้อยยาวถึง 12 ซม. ดอกขนาด 4 ซม. สีชมพูอ่อน ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อมีขน ชั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีแฉกยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นสีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบชิดกัน กลีบดอกรูปขอบขนาน ส่วนปลายกลีบมนและบิดเวียน เกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์รูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียอ้วน และมีร่อง<strong> </strong></p><p><strong>ผล </strong>เป็นผลแห้งรูปกระสวย มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกขนาดใหญ่ 2 อัน ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง สีแดงอมชมพู กว้าง 2.0-2.5 ซม. ยาว 11-15 ซม. เมื่อสุกสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น มีปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 ซม. ส่วนกลางผล มีครีบตามยาว 5 ครีบ เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2.2-2.8 ซม.</p><p><strong>เมล็ด</strong> มี 1 เมล็ดต่อผล เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร ในป่าดิบแล้ง และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทยที่ระดับความสูง 50-400 ม. จากระดับทะเลปานกลาง</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>หมู่เกาะอันดามัน บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย ลาว มาลายา พม่า ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม</p>
การกระจายพันธุ์
<p>เอเชียเขตร้อน</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>น้ำต้มเปลือก</strong> กินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อนๆ) แก้ปวดตามข้อ</p><p><strong>น้ำมันยาง</strong> รสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณห้ามหนองและสมานแผล ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน ใช้ยาเครื่องจักสาน ทาไม้ อุดเรือรั่ว และผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือทำไต้ น้ำมันยางผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Roxb.) คั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้อุดฟันแก้ฟันผุ น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว จิบเป็นยาขับเสมหะ</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ยางนา.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=274 (12 ตุลาคม 2559)</p><p>วนานันทอุทยาน. 2557. “ยางนา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://office.csc.ku.ac.th/woodland/index.php/2013-11-18-06-36-8/134-2014-02-17-07-32-25<br />(12 ตุลาคม 2559)</p><p>องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.</p><p>The Plant List. 2013. “<em>Dipterocarpus</em> <em>alatus</em> Roxb. ex G.Don.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2772115 (21 กันยายน 2560)</p><p>The Royal Botanic Gardens, Kew science. “<em>Dipterocarpus alatus</em> Roxb. ex G.Don.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:320626-1 (20 ตุลาคม 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้