รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02038


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L.

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

indica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะม่วงพันธุ์มันหนองแซง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของต้นจะมีสีน้ำตาลมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวขงลำต้น 

ใบ ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามก้านใบ ใบสั้นเป็นลอนๆ สีเขียวอ่อน

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวลๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก 

ผล ลักษณะผลคล้ายมะม่วงอกร่องและมะม่วงแก้ว ขนาดย่อมผิวสีเขียวนวลเกลี้ยง ผลดิบ มีรสชาติ มันตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ  หวาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ต้องการแสงแดดเต็มวันน้ำปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
กุมภาพันธุ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

MThai. 2016. “หนองแซง สระบุรี เสน่ห์ชนบทที่น่าหลงใหล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  https://travel.mthai.com/region/central/101709.html (25 กันยายน 2560)

nanagarden. 2015. “มะม่วงมันหนองแซง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.nanagarden.com/product/239965 (25 กันยายน 2560)

Somchaipunmai. 2017. “มะม่วง หนองแซง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  http://somchaipunmai.com/index.php/mango/10-2015-10-02-01-25-23 (25 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2362842 (25 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้