รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02093


ชื่อวิทยาศาสตร์

Morus alba L.

สกุล

Morus L.

สปีชีส์

alba

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
ชื่อไทย
หม่อนพันธุ์ตาดำ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น   ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด 

ดอก ดอกออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก

ผล ผลอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ต้องการแสงแดดเต็มวัน น้ำปานกลาง ไม่มีน้ำท่วมขัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย

ถิ่นกำเนิด

หม่อนมีถิ่นกำเนิดมาจาก จีนตอนเหนือถึงตอนกลาง และจีนตอนใต้ถึงตอนกลาง

การกระจายพันธุ์

หม่อนมีการกระจายพันธุ์ใน ทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และยุโรป

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชเศรษฐกิจ

ปลูกประดับภูมิทัศน์เพื่อความสวยงาม

ผลสุก สามารถรับประทานสดได้
ยอดอ่อน รับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก
ใบ ใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “หม่อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=125 (17 พฤษภาคม 2560)

CABI. 2017. “Morus alba (mora).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.cabi.org/isc/datasheet/34816 (30 กันยายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Morus alba L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30051955-2 (30 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้