รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02172


ชื่อวิทยาศาสตร์

Elaeocarpus grandiflorus Sm.

สกุล

Elaeocarpus Burm. ex L.

สปีชีส์

grandiflorus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cerea radicans Thouars

Elaeocarpus lanceolatus Blume

Elaeocarpus radicans (Thouars) Hiern

ชื่อไทย
ไคร้ย้อย
ชื่อท้องถิ่น
สารภีน้ำ (เชียงใหม่)/ ปูมปา (เลย)/ มุ่นน้ำ (เพชรบูรณ์)/ แต้วน้ำ (บุรีรัมย์)/ จิก ดอกปีใหม่ (กาญจนบุรี)/ คล้ายสองหู ผีหน่าย (สุราษฎร์ธานี)/ อะโน (ปัตตานี)/ กาบพร้าว (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ELAEOCARPACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นไม่พลัดใบ สูงได้ถึง 30 ม. เรือนยอดแผ่กว้างพุ่มใบทึบ แตกกิ่งต่ำ กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกเรียบหรือหยาบเล็กน้อย สีน้ำตาลปนเทา

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านใบยาว 0.2-4.0 ซม. รูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบกว้าง 1.2-5.0 ซม. ยาว 4.5-20.0 ซม. เส้นแขนงใบ 6-9 คู่

ดอก ออกเป็นช่อกระจะห้อยลงมาจากซอกใบ ช่อยาว 2-10 ซม. ดอกย่อยสมบูรณ์เพศจำนวน 4-6 ดอก ก้านช่อดอกย่อย ยาว 2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบสีแดงแสด รูปใบหอก กว้าง 2 มม. ยาว 12-25 มม. กลีบดอก 5 กลีบสีขาว รูปไข่กลับ มีขนประปรายทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกด้านมีกลุ่มขนเรียงตัวเป็นสองแถว ปลายกลีบเป็นริ้วละเอียด กว้าง 1 ซม. ยาว 2.0-2.5 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.0-2.5 ซม. เกสรเพศผู้ 25-60 อัน รังไข่มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น

ผล ผลรูปทรงรี กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 2.5-4.0 ซม. ปลายและโคนแหลม ผิวเกลี้ยง ก้านผลยาว 2-6 ซม.

เมล็ด เมล็ดเดี่ยว แข็ง มีเมล็ดรูปกระสวย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นทั่วไปในป่าไม้ผลัดใบ โดยเฉพาะที่ชุ่มชื้นสูงใกล้ลำธารหรือริมฝั่งน้ำ ในระดับพื้นล่างถึงป่าดิบเขาสูง  1,000 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เกาะบอร์เนียว กัมพูชา จาวา ลาว หมู่เกาะซุนดาน้อย มาเลเซีย แหลมมลายู พม่า ฟิลิปปินส์ สุมาตรา ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พม่า คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ ถึงบอร์เนียวและฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

เปลือกสด บดละเอียดทำเป็นยาพอกแก้แผลเปื่อย

ใบ ต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ใบแห้ง รักษาโรคซิฟิลิส

เมล็ด ยาขับปัสสาวะ บรรเทาอาการปวดเนื่องมาจากปัสสาวะไม่ออก หรือนิ่วในปัสสาวะ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 808 น.

มูลนิธิสวนหลวง ร.9. 2542. พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9. เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.139 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ไคร้ย้อย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2486 (10 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Elaeocarpus grandiflorus Sm.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2785588 (19 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Elaeocarpus grandiflorus Sm.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:833832-1 (6 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้