รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02178


ชื่อวิทยาศาสตร์

Elephantopus scaber L.

สกุล

Elephantopus L.

สปีชีส์

scaber

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Elephantopus carolinensis G.Mey.

ชื่อไทย
โด่ไม่รู้ล้มดอกม่วง
ชื่อท้องถิ่น
ขี้ไฟนกคุ่ม (ปราจีนบุรี, เลย)/ คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ)/ เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ)/ หนาดผา (เชียงใหม่, ภาคเหนือ)/ หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
Prickly leaved Elephant's foot
ชื่อวงศ์
COMPOSSITAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ส็ง 10-30 ซม.จากพื้นดิน เตี้ย ตามผิวลำต้นมีขนละเอียดสีขาว 

ใบ ใบเดี่ยว อยู่เหนือเหง้า ติดกันเป็นวงกลมเรียงสลับ ใบรูปหอกกลับ รูปไข่แกมใบหอกกลับ ใบยาว 8-20 ซม. กว้าง 3-5 ซม. โคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ  ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน เนื้อใบหนาสาก มีก้านใบหรือไม่มี 

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกรูปขนาน มี 4 ดอก ดอกย่อย ยาว 8-10 มม. ดอกย่อยขนาดเล็กรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอก ยาว 3.0-3.5 มม. ผิวเกลี้ยง ปลายกลีบ ยาว 1.5-2.0 มม. เกสรเพศผู้สีเหลือง เกสรเพศเมียมีก้าน ยาว 7-8 มม. ช่อดอกย่อยรวมกันเป็นกระจุก ใบประดับอยู่ตรงโคนรูปสามเหลี่ยม 3 ใบ ยาว 1-2 ซม. 

ผล ผลแห้ง ไม่แตก ผลเล็กยาว รูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกมีขนหนา กว้าง 0.4-0.5 มม. ยาว 2.5-3.0 มม. 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าสนเขาทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเขตร้อนทั่วโลก

ถิ่นกำเนิด

พืชสกุล Elephantopus มีถิ่นกำเนิดมาจาก เอเชียเขตร้อน แอฟริกา แปซิฟิก อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

เอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
สิงหาคม-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ทั้งต้น รสกร่อยขื่น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด แก้กระษัย ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แผลมีหนอง แก้แผลงู แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้อักเสบ แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา 

ราก รสกร่อยขื่น ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน 

ใบ รสกร่อยขื่น รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง (ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล แก้โรคผิวหนังผื่นคัน) แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค รักษาโรคบุรุษ เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน แก้ไอ ทำให้เกิดความกำหนัด 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “โด่ไม่รู้ล้ม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=143 (21 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Elephantopus scaber L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-116229 (21 พฤศจิกายน 2559)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Elephantopus L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30020030-2 (6 ตุลาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Elephantopus scaber.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Elephantopus+scaber (6 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้