รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02266


ชื่อวิทยาศาสตร์

Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob.

สกุล

Chromolaena DC.

สปีชีส์

odorata 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Chromolaena odorata f. odorata

Chrysocoma maculata Vell.

Chrysocoma maculata Vell. Conc.

Chrysocoma volubilis Vell. Conc.

ชื่อไทย
สาบเสือ
ชื่อท้องถิ่น
ช้าผักคราด ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์ธานี)/ บ้านร้าง (ราชบุรี)/ เบญจมาศ (กทม. ตราด)/ ผักคราด (ราชบุรี เหนือ)/ ฝรั่งรุกที่ ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี)/ มุ้งกระต่าย (ราชบุรี อุดรธานี)
ชื่อสามัญ
Bitter Bush/ Siam Weed
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น พืชล้มลุก อายุหลายปี หรือวัชพืช สูงได้ถึง 1.50 ม. ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นสาบ

ใบ ใบรูปไข่ถึงรูปรี ขอบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ มีขนสั้น ๆ

ดอก ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก 10-35 ดอก กลีบดอกวงนอกเป็นเส้นยาว สีขาวอมม่วงอ่อนหรือสีชมพู ออกดอกพร้อมๆ กันในช่วงหน้าหนาว

ผล เมื่อเมล็ดแก่จะแห้งและมีจนที่ปลาย ช่วยให้ปลิวไปกับลมได้ไกล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

อัตราการเจริญเติบโตเร็ว สภาพดินทั่วไป ระดับน้ำปานกลาง และต้องการแสงแดดตลอดวัน ในธรรมชาติพบตามริมทาง ที่รกร้างทั่วไป ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าที่มีแดดจัด 

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์

แพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของฟลอริดาจนถึงพื้นที่ตอนเหนือของอาร์เจนตินา ระบาดไปทั่วเขตร้อนของโลกทุกทวีป

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

-ใบ หรือดอกขยี้ ปิดแผลหรือใช้น้ำคั้นทาเพื่อห้ามเลือด บดผสมกับปูนแดงหรือเกลือพอกแผลจะช่วยห้ามเลือดและสมานแผลได้ดี

-รากผสมกับรากมะนาวและย่านาง ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ป่า ทั้งต้นตากแห้งและบดผสมน้ำรดต้นไม้ ช่วยไล่แมลงศัตรูพืช ลักษณะคล้ายสาบแร้งสาบกา

-ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “สาบเสือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD&keyback=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD (4 พฤษภาคม 2560)

วิกิพีเดีย. 2559. “สาบเสือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD  (4 พฤษภาคม 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “สาบเสือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/bitter-bush/ (4 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-24352 (4 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Chromolaena odorata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:8269-1 (4 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้