Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Fagraea fragrans</em> Roxb</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Cyrtophyllum</em> <em>fragrans</em> (Roxb.) DC.</p><p><em>Cyrtophyllum</em> <em>giganteum</em> Ridl.</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ลำต้น</strong> ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแน่นเป็นรูปกรวยคว่ำ ทรงพุ่มแน่นปลายกิ่งลู่ลง เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกตามยาว</p><p><strong>ใบ</strong> ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนตามปลายกิ่ง ใบรูปรี โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบหนาและเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-13 ซม. ก้านใบยาว 0.6-1.8 ซม. มีหูใบระหว่างก้านใบคล้ายรูปถ้วยเล็กๆ</p><p><strong>ดอก</strong> ดอกเป็นช่อกระจะแยกแขนง ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ออกดอกหนาแน่นเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยงสีเหลือง 5 กลีบ เชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ยาว 2-3 มม. ดอกมีสีขาวเมื่อเริ่มบาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อใกล้จะร่วงจะมีสีเข้มขึ้น ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน ยาว 1.2-2.2 ซม. ปลายดอกแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวพ้นปากหลอด 1.8-2.3 ซม. มียอดเกสรเพศเมียบวมพอง</p><p><strong>ผล</strong> ทรงกลม ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นแดงอมส้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 มม. ปลายผลมีติ่งแหลมสั้น ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีรสขม</p><p><strong>เมล็ด</strong> มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก สีน้ำตาลไหม้</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>ขึ้นตามที่ราบต่ำที่ชื้นแฉะ โล่ง บนดินร่วนปนทรายที่ชื้นแฉะ ป่าบึงน้ำจืดและที่ต่ำชื้นแฉะใกล้น้ำ</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น</p>
การกระจายพันธุ์
<p>ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเชีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ<strong>, </strong>ขยายพันธุ์<strong>โ</strong>ดยการเพาะเมล็ด</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>ใบ</strong> เป็นยาแก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด รักษาโรคผิวหนังพุพอง</p><p><strong>แก่น</strong> มีรสมันฝาดขม แก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้ริดสีดวง แก้ท้องมาน แก้ลงท้อง มูกเลือด แก้แน่นอก โลหิตพิการ ขับลม แก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ</p><p><strong>ช่อดอก</strong> ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเก็บช่อดอกมากำบูชาพระ</p><p><strong>เนื้อไม้</strong> นิยมใช้ทำเสาบ้านหมอนรางรถไฟ เครื่องเรือน</p><p><strong>ผล</strong> รสฝาดขม ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาน แน่นหน้าอก เป็นมูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดลมพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือกบำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน</p><p><strong>ไม้</strong> ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำหีบจำปาใส่ศพ ทำกระดูกงูโครงเรือ เสากระโดงเรือ ใช้เข้ายา บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น เปลือกบำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญ พาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด.</p><p>มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.กรุงเทพมหานคร.</p><p>ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.</p><p>เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.</p><p>The Plant List. 2013. “Fagraea fragrans Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2807419 (22 มิถุนายน 2560)</p><p>The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Fagraea racemosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:25059-1 (22 มิถุนายน 2560)</p><p> </p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้