รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02458


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus racemose L.

สกุล

Ficus Tourn. ex L.

สปีชีส์

racemose

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Covellia glomerata (Roxb.) Miq.

ชื่อไทย
มะเดื่ออุทุมพร
ชื่อท้องถิ่น
มะเดื่อชุมพร กูเซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ เดื่อเกลี้ยง (เหนือ กลาง)/ มะเดื่อชุมพร (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
blue fig/ figwood/ cluster fig/ red river fig
ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลชมพู ภายในมียางสีขาวหม่น เมื่ออ่อนผิวเรียบ เมื่อแก่แตกเป็นรอยหยาบ แตกเรือนยอดไม่สม่ำเสมอ

ใบ ผลัดใบเป็นครั้งคราวเมื่อประสบความแห้งแล้ง ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ หูใบยาวประมาณ 12 มม. ก้านใบยาว 1.5-7.0 ซม. แผ่นใบรูปหอก กว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. โคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวเกลี้ยง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่สีเขียว เส้นใบข้าง 4-8 คู่

ดอก ดอกออกบนต้น บนกิ่ง หรือกิ่งไร้ใบในโครงสร้างผล ซึ่งรวมกันเป็นกระจุกแน่น และเป็นช่อ ยาวได้ถึง 30 ซม. ประกอบด้วย ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มปม เกสรเพศผู้ 1-3 อัน รังไข่ไม่มีก้านหรือมีจะสั้นมาก มีจุดสีแดง เกสรเพศเมีย 1 อัน ยาว 2-3 มม. ผิวเกลี้ยง

ผล รูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ปลายป้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 ซม. มีวงกลีบรวม ติดอยู่ 3-5 พู ช่องเปิดค่อนข้างลึก มีใบประดับปิด 5-6 ใบ ผลสุกสีแดงกุหลาบ บางครั้งอาจมีรอยด่างแถบสีอ่อนพาดตามยาว ก้านผลยาว 0.25-1.2 ซม.

เมล็ด ค่อนข้างกลมแบน นูนตรงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณในระดับล่างถึงป่าดิบเขาสูง 800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน พม่า ยูนนาน ประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ จรดทางเหนือและตะวันตกของออสเตรเรีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผล ผลสุกกินได้ เป็นยาขับลม

ราก ใช้แก้บาดแผล แก้หวัด แก้ไข้ ไข้กาฬ ไข้หัว แก้ร้อนใน แก้โรคงูสวัด เริม และโรคกาฬ

เปลือก ใช้ภายนอกแก้บาดแผล เป็นยาสมานแผล ใช้ภายใน กล่อมสมหะ กล่อมโลหิต แก้ไข้ แก้ท้องร่วง บิด ปวดท้อง ลมในกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน

ต้น แก้บาดแผลและท้องร่วง

ยาง ยางจากลำต้น แก้งูสวัด เริม

ใบ แก้น้ำดี

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.752 น.

วิกิพีเดีย. 2558. “มะเดื่อชุมพร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3 (22 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Ficus racemosa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2811980 (22 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Ficus Tourn. ex L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:327905-2 (22 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้