Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Gardenia</em> <em>sootepensis</em> Hutch.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Gardenia</em> <em>massieana</em> Pierre ex Pit. <strong>[Invalid]</strong></p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ลำต้น</strong> ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สูง 5 -10 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง กลม ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นแข็งและหนา สีเทา ค่อนข้างเรียบ สามารถหลุดออกเป็นแผ่น มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน<br /><strong>ใบ</strong> เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 8 -15 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ใบค่อนข้างหนา ยอดของใบอ่อนมีหูใบสีเหลืองหุ้มไว้ หลุดร่วงง่าย หูใบนี้จะไม่ร่วงแต่ติดอยู่ระหว่างก้านใบโดยเชื่อมเป็นวงรอบกิ่ง ก้านใบยาว 0.5 – 1.0 ซม.</p><p><strong>ดอก</strong> เดี่ยว สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบ ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยงปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแฉก 5 แฉก ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่น ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กลีบดอกหนา ขอบบิดและม้วน ดอกแรกบานมีสีเหลืองนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อใกล้โรย เกสรเพศผู้จำนวน 5 อันโผล่เกือบพ้นหลอดกลีบดอก</p><p><strong>ผล</strong> สด รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 3 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. มีสันตื้น 5 สัน ผลสุกสีเหลือง มีเนื้อสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>ป่าไม้เต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่สูง 200-400 ม. เหนือจากระดับทะเลปานกลาง</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>ดอยสุเทพ ประเทศไทย</p>
การกระจายพันธุ์
<p>พบในพม่า ลาว</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p>-ทนแล้ง เหมาะจะปลูกเพื่อให้ร่มเงาในบ้านมากเพราะดอกหอม</p><p>-เมล็ด เมื่อต้มกับน้ำสะอาดจะเกิดฟองสามารถนำไปใช้เป็นแชมพูสระผม ช่วยให้ผลนิ่มและลื่น และช่วยกำจัดเหา</p><p>-ผล ผลสุกสามารถรับประทานได้มีรสชาติ เปรี้ยว</p><p>-ลำต้น ใช้ทำของเล่นเป่าให้เกิดสียงเรียกว่า “โหวด”</p><p>-สามารถปลูกเป็นพืชให้ร่มเงาและพืชประดับเพื่อความสวยงามได้</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรใน</p><p>งานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.</p><p>วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.</p><p>ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.</p><p>สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “คำมอกหลวง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=73&view=showone&Itemid=59 (28 ตุลาคม 2559)</p><p>องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 153 น.</p><p>เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2.เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.</p><p>The Plant List. 2013. “Gardenia sootepensis Hutch.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-88455 (18 พฤษภาคม 2560)</p><p>The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Gardenia sootepensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:751253-1 (18 พฤษภาคม 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้