Garuga pinnata Roxb.
Gardenia J.Ellis
pinnata
-
-
Garuga pharhad Buch.-Ham.
Garuga pinnata var. obtusa Engl.
Garuga pinnata var. sikkimensis Engl.
Guaiacum abilo Blanco
ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ เรือนยอดของต้น โคนต้นเป็นพูพอน ตามกิ่งอ่อน และก้านช่อดอกมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่วไป มีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียนสลับเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ก้านช่อหนึ่งจะมีใบย่อยประมาณ 7-13 ใบ ออกเรียงตรงข้ามหรือทแยงกันเล็กน้อย ยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ตรงปลายก้านจะมีใบเพียงใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือมนเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่บริเวณปลายกิ่งหรือส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 6 นิ้ว ดอกย่อยมีจำนวนมาก เป็นดอกแบบสมบูรณ์ ลักษณะของดอกเป็นรูประฆัง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนกลีบดอกเป็นสีครีม สีเหลือง สีเหลืองอ่อน หรือสีชมพู มี 5 กลีบ
ผล ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม อวบน้ำ มีเมล็ดอยู่ภายใน สีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลมีเนื้อนุ่มแต่ภายในมีผิวแข็งหุ้ม
พบขึ้นตามที่ราบตามป่าโปร่ง ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้งในที่ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่วไป ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่ความสูงจากระดับทะเลประมาณ 50-800 ม.
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในไทยพบกระจายหนาแน่นแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
-ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
-เปลือกต้น ยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ยาแก้อาการปวดท้อง ยาทาห้ามเลือด ล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก
ช่วยบำรุงครรภ์ แก้อักเสบ บวม ติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ฝีหรือตุ่ม ป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีผื่นหรือตุ่มขึ้น
-ผล ยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร
-ต้น แก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ
-ใบ ยารักษาโรคหืด
-
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “Garuga pinnata Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Garuga0pinnata0Roxb (28 พฤศจิกายน 2559)
ThaiHerbal.org. 2014. “ตะคร้ำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/2660/2660 (28 พฤศจิกายน 2559)
The Plant List. 2013. “Garuga pinnata Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2817312 (28 พฤศจิกายน 2559)
The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Garuga pinnata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:128065-1 (28 พฤศจิกายน 2559)
-
-
กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้