รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02663


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hedychium coronarium J.Koenig

สกุล

Hedychium J.Koenig

สปีชีส์

coronarium

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Hedychium coronarium var. baimao Z.Y. Zhu

Amomum filiforme Hunter ex Ridl.

Gandasulium lingulatum (Hassk.) Kuntze

Hedychium chrysoleucum Hook.

ชื่อไทย
มหาหงส์
ชื่อท้องถิ่น
กระทายเหิน หางหงส์ (ภาคกลาง)/ ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Butterfly lily/ Garland flower/ Ginger lily/ White ginger
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้หัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สูงประมาณ 1.5-2.0 ซม.

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับซ้อนเป็นสองแถว รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 30-50 ซม. ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน หลังใบมีขนนุ่มบาง ๆ

ดอก สีขาวนวล ออกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด มีใบประดับรูปไข่เรียงซ้อนกันแน่น ดอกบานกว้าง 10 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบรองดอกเป็นหลอด ยาว 4 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 9 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ยาว 4 ซม. เกสรเพศผู้เทียมรูปหลอด กว้าง 2.5 ซม. ยาว 4 ซม. กลีบปากมนกลม ปลายกลีบแยกเป็น 2 พู เกสรเพศผู้ 1 อัน ยาวยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก

ผล สีน้ำตาลแดง รูปไข่เกลี้ยง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่โล่งที่มีน้ำขังและพบมากทางภาคเหนือ

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม จีนตอนใต้-ตอนกลาง จีนตะวันออกเฉียงใต้ เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย พม่า เนปาล ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

อเมริกา แอฟริกาใต้ เอเชียเขตร้อน และรัฐควีนส์แลนด์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า

ระยะเวลาการติดดอก
มิถุนายน-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

-ตำรายาไทยใช้ เหง้า เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม บำรุงไต ตากแห้งแล้วบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบซีด โลหิตจาง ปวดเมื่อย) น้ำมันจากเหง้าสด ฆ่าแมลง

-ต่างประเทศ ใช้เหง้าช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และช่วยในการขับลม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2546. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. พิมพ์ครั้งที่ 1.โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 346 น.

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. 2557. “มหาหงส์” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant-2/312-hedychium (31 ตุลาคม 2559)

Phargarden.com. 2553. “มหาหงส์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=86 (31 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Hedychium coronarium J.Koenig.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248115 (10 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Hedychium coronarium J.Koenig.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:796836-1 (3 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้