รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02676


ชื่อวิทยาศาสตร์

Heliconia psittacorum L.f. 

สกุล

Heliconia L.

สปีชีส์

psittacorum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bihai psittacorum (L.f.) Kuntze

Heliconia ballia Rich.

Heliconia swartziana Roem. & Schult.

Musa humilis Aubl.

ชื่อไทย
พุทธรักษาญี่ปุ่น
ชื่อท้องถิ่น
ก้ามกุ้ง ธรรมรักษา เยอรมัน (กทม.)
ชื่อสามัญ
Parrot/ Parrot flower/ Yellow Bird
ชื่อวงศ์
HELICONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 0.6-2.0 ม. ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อยใต้ผิวดิน ส่วนเหนือดินเรียกว่าลำต้นเทียม

ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน อาจมีผิวเหลือบสีแดง เส้นกลางใบหนา ก้านใบยาว

ดอก ออกเป็นช่อเชิงลดออกที่ปลายกิ่ง มีทั้งช่อตั้งและช่อห้อยยาว 30-80 ซม. ก้านช่อดอกต่อระหว่างกลีบประดับ เรียงสลับในระนาบเดียวกันหรือบิดเวียน โค้งเรียวยาว ปลายแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน มีหลายสี เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง และสีส้ม ภายในกลีบประดับจะมีดอกคล้ายดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถวเดียว แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ซึ่งจะเจริญเพียง 5 อัน อีก 1 อันเป็นหมัน รังไข่ อยู่ใต้กลีบเลี้ยงและกลีบดอก ภายในมี 3 ช่องเป็นผลนุ่ม

ผล สด รูปไข่ ผิวมัน ถ้ามีสีน้ำเงินจะเป็นชนิดที่มาจากทวีปอเมริกา และถ้ามีสีแดงจะมาจากหมู่เกาะแปซิฟิก 

เมล็ด คล้ายเมล็ดกล้วย แข็ง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในเขตชื้นหรือแฉะแต่ก็พบบ้างในบริเวณที่มีช่วงแล้ง ระดับความสูงที่พบตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางไปจนถึง 1,800 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง แต่จะเจริญได้สมบูรณ์ที่สุดที่ระดับต่ำกว่า 460 ม.

ถิ่นกำเนิด

ทวีปอเมริกา

การกระจายพันธุ์

หมู่เกาะคุก สาธารณรัฐโดมินิกัน แกมเบีย จาเมกา หมู่เกาะลีเวิร์ด เม็กซิโกตะวันออกเฉียงเหนือ เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ เปอร์โตริโก ไทย เวเนซุเอลาแอนทิลลิส และหมู่เกาะวินด์เวิร์ด

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกเหง้า

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

เหมาะปลูกบังมุมอาคาร บังกำแพง ริมลำธาร น้ำตก ปลูกริมถนน ริมทางเดิน ริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล เพราะสามารถทนน้ำท่วมขังหรือที่ชื้นแฉะได้ดี หรือปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีอายุปักแจกันนาน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่. “ธรรมรักษา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/thamaraksa.htm (12 พฤษภาคม 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “เฮลิโคเนีย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/parrot/ (12 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Heliconia psittacorum L.f.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248539 (12 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Heliconia psittacorum L.f.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:796972-1 (3 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้