Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Helicteres</em> <em>isora</em> L.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Isora</em> <em>grewiaefolia</em> (DC.) Schott & Endl.</p><p><em>Helicteres</em> <em>roxburghii</em> G. Don</p><p><em>Helicteres</em> <em>grewiaefolia</em> DC.</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ต้น</strong> สูง 1-3 ม. แตกกิ่งก้านเป็นกอตั้งแต่โคนต้น ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น มีช่องอากาศ เปลือกลำต้นเรียบ มียางเหนียว</p><p><strong>ใบ </strong>เดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่ กว้าง 5.5-7.5 ซม. ยาว 8.5-15.0 ซม. ปลายใบเป็นแฉก ไม่เป็นระเบียบ 3-5 แฉก แฉกกลางสุดยาวคล้ายหาง โคนใบกลมหรือรูปหัวใจ ขอบหยักคล้ายฟันปลา แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่ม ก้านใบ ยาว 0.5-2.0 ซม. มีขน หูใบรูปแถบ ยาว 3-7 มม.</p><p><strong>ดอก </strong>ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ มี 5-8 ดอก ก้านช่อดอกสั้น ก้านดอก ยาว 3-5 มม. มีขน ใบประดับและใบประดับย่อย รูปแถบ ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ยาว 1-2 ซม. เบี้ยว ติดทน มีขนสั้นหนานุ่ม โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก ไม่เท่ากัน 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกสีแดงอมส้ม มี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปหอกกลับ ยาว 2.5-3.0 ซม. โค้งพับลง กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้และเพศเมีย มีก้านชูยื่นยาว โผล่พ้นกลีบดอก</p><p><strong>ผล</strong> แห้งแตก รูปทรงกระบอก มีขนปกคลุม ผิวสาก กว้าง 0.7-1.0 ซม. ยาว 3-6 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่มีสีน้ำตาลหรือดำ ผลเป็นฝักกลมยาวบิดเป็นเกลียวเหมือนเกลียวเชือก หลังผลแตก ฝักจะอ้าออกเห็น</p><p><strong>เมล็ด </strong>รูปกึ่งสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สีน้ำตาล ยาว 2.0-2.5 มม. เกลี้ยง</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ชายป่าดิบ ที่รกร้าง ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-400 ม.</p>
ถิ่นกำเนิด
<p> </p><p>หมู่เกาะอันดามัน บังคลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้-ตอนกลาง ไห่หนาน อินเดีย มลายา มาลูกู เนปาล ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม</p>
การกระจายพันธุ์
<p>เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>เปลือกลำต้นและกิ่ง</strong> ให้เส้นใยใช้ทำเชือก กระสอบ กระดาษ ในสมัยก่อนในชวาใช้ทำกระสอบ ในอินเดีย ใช้ทำกระดาษ ต้นปลูกเป็นไม้ประดับ กิ่งและใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์</p><p><strong>เปลือกต้น ราก และผล</strong> รสขม ฝาดเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นแผล แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไข้หวัดตัวร้อน ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ปวดเบ่ง<br /><strong>เปลือกต้น ราก</strong> รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ<br /><strong>ผล </strong>รสฝาด แก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ แก้เสมหะพิการ แก้บิด แก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ตำพอกแก้เคล็ด ขัด บวม ใช้ภายในหรือภายนอก แก้โรคทางลำไส้ โดยเฉพาะในเด็ก แก้บิด<br /><strong>ผล เปลือก</strong> ฝาดสมานให้เส้นเอ็น<br /><strong>ทั้งต้น</strong> แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง<br /><strong>ในมาเลเซีย และตอนใต้ของไทย</strong> ใช้ <strong>ผลแห้ง</strong> เป็นยาบำรุง โดยเฉพาะหลังคลอดบุตร<br /><strong>ประเทศจีน</strong> ใช้ <strong>ราก </strong>รักษาอาการไตอักเสบเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>Flora of Chica. “Helicteres isora Linnaeus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200013809 (12 พฤษภาคม 2560)</p><p>Phargarden.com. 2010. “<em>Helicteres</em> <em>isora</em> L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=154 (12 พฤษภาคม 2560)</p><p>The Plant List. 2013. “<em>Helicteres</em> <em>isora</em> L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2843218 (12 พฤษภาคม 2560)</p><p>The Royal Botanic Gardens, Kew science. “<em>Helicteres isora</em> L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:321222-2 (3 พฤศจิกายน 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้