รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02688


ชื่อวิทยาศาสตร์

Heterogonium pinnatum (Copel.) Holttum

สกุล

Heterogonium C.Presl

สปีชีส์

pinnatum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Stenosemia pinnata Copel.

ชื่อไทย
เฟินเทพนม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Fern thep phanom
ชื่อวงศ์
TECTARIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นเหง้าสั้น ตั้งตรง ปกคลุมหนาแน่นด้วยเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลเข้ม 

ใบ เป็นใบประกอบขนนกรูปสามเหลี่ยม ก้านใบยาวและมีขนปกคลุมแน่น ใบย่อยขอบเป็นแฉกลึก เมื่อโตเต็มที่ ใบย่อยคู่ล่าง เป็นใบประกอบขนนกย่อยอีก 1 ชั้น ใบสปอร์แตกต่างจากใบปกติ และก้านยาวชูขึ้นสูงเหนือทรงพุ่ม ใบสปอร์ผอมเรียว ทั้งใบปกติและใบสปอร์สามารถสร้างตาต้นอ่อนใหม่ขยายพันธุ์ได้

สภาพนิเวศ
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบร่ม มีความชุ่มชื้นสูง มักพบอยู่บนดิน หรือข้างก้อนหิน บริเวณลำธารน้ำตก ดินมีอินทรีย์วัตถุมาก 

ถิ่นกำเนิด

ไทย (พบที่ นครศรีธรรมราช กระบี่ ยะลา) มาเลเซีย สุมาตรา คาบสมุทรมาเลย์ บอร์เนียว และฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการใช้สปอร์ และยังสามารถนำต้นอ่อนที่เกิดจากตาที่ใบ นำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกประดับสวน หรือสถานที่ต่าง ๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2015. “เฟิร์นเทพพนม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.biogang.net/plant_view.php?uid=48481&id=201982 (10 พฤษภาคม 2560)

Flora Malesiana. “Heterogonium pinnatum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://portal.cybertaxonomy.org/flora-malesiana/node/7254 (10 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Heterogonium pinnatum (Copel.) Holttum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50225234 (10 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้