รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02693


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hibiscus grewiifolius Hassk.

สกุล

Hibiscus L.

สปีชีส์

grewiifolius

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Hibiscus bantamensis Miq.

Hibiscus cinnamomifolius Chun & Tsiang

Hibiscus praeclarus Gagnep.

ชื่อไทย
พันตะวัน
ชื่อท้องถิ่น
งาช้าง (ระนอง)/ จงเพียร (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MALVACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูงได้ถึง 10-20 ม. ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 ซม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกแตกเป็นร่องตื้น และหลุดเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล เปลือกในสีชมพู กระพี้สีเหลือง

ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 8-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เนื้อหนา ผิวด้านบนมีขนสาก ผิวด้านล่าง มีขนสั้นๆ ก้านใบ ยาว 0.5-1.2 ซม. หูใบรูปเส้นด้ายขนาดเล็ก ร่วงง่าย

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว 1-3 ซม. มีริ้วประดับ 7-9 อัน รูปใบหอก ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มี 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5-2.0 ซม. ติดทน กลีบดอกรูประฆังสีเหลือง เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมแดง มีสีน้ำตาลแดงที่โคนด้านใน กลีบรูปไข่กลับ ยาว 6-10 ซม.

ผล แห้งแตก รูปไข่ ยาว 2-3 ซม.ปลายเป็นติ่งแหลม ฐานผลมีกลีบเลี้ยงและริ้วประดับติดทน ผิวเกลี้ยง มี 5 ซีก มี 4-5 เมล็ด ในแต่ละซีก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบทางภาคใต้แถบจังหวัดระนองและสุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่จังหวัดหนองคาย ในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึงประมาณ 1,000 ม.

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ตอนใต้ของพม่า คาบสมุทรไทย ลาว เวียดนาม ตอนใต้ของจีน (ไหหลำ) และอินโดนีเซีย (ชวา, ซัมบาวะ)

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธุ์-มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นพืชประดับสวน หรือสถานที่ต่าง ๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “งาช้าง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=307 (9 พฤษภาคม 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. “พันตะวัน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://chm-thai.onep.go.th/RedData/plants/detail.aspx?plants_CurrentPage=146 (9 พฤษภาคม 2560)

Pl@ntUse. 2016. “Hibiscus grewiifolius (PROSEA).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://uses.plantnet-project.org/en/Hibiscus_grewiifolius_(PROSEA) (9 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Hibiscus grewiifolius Hassk.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-19603484 (9 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้