รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02707


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hibiscus tilliaceus L.

สกุล

Hibiscus L.

สปีชีส์

tilliaceus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Hibiscus boninensis Nakai

Paritium tiliaceum (L.) A. Juss.

Paritium abutiloides (Willd.) G. Don

Hibiscus tiliifolius Salisb.

ชื่อไทย
ปอทะเลด่าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MALVACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 ม. ลำต้นตั้งตรง แผ่กิ่งก้านสาขาได้กว้าง

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือกิ่ง มีหูใบใหญ่และแผ่ออกก ก้านใบกลม ยาว 5-20 ซม. มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น แผ่นใบเกือบกลม ขนาดความกว้างและความยาวของใบใกล้เคียงกัน 10-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งเรียวแหลม คนใบโค้งและเว้าลึก ขอบใบเรียบหรือหยักคล้ายฟันละเอียดเล็ก ๆ ผิวใบเขียวเป็นมัน พันธุ์ใบด่างมีสีขาวสลับเป็นลายด่าง หลังใบและใต้ท้องใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น

ดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกออกเป็นช่อที่ยอดลำต้นหรือกิ่ง 2-5 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยมีริ้วประดับสั้นกว่าวงกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นวงรูปถ้วย 8-11 พู วงกลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก ผิวนอกมีน้ำหวาน กลีบดอกเป็นแผ่นโต 5 กลับ ยาว 5 ซม. เมื่อดอกออกใหม่มีสีเหลืองโคนภายในสีม่วง เมื่อแก่ลงเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ก้านเกสรเพศผู้รวมตัวเป็นแท่งเดี่ยว ทั้งก้านเกสรและอับเรณูสีเหลือง ก้านเกสรเพศเมีย และยอดสีม่วง

ผล ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงและริ้วประดับติดอยู่ ผลแห้งแตกเป็น 5 พู

เมล็ด มีจำนวนมาก เมล็ดสมบูรณ์ มี 5-7 เปอร์เซ็นต์ คล้ายรูปไต มีลายคล้ายจุดปลายเข็มรอบ ๆ มีจงอยปลายแหลมเล็ก ๆ เมื่อแก่สีน้ำตาลแก่จนเกือบดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบใกล้ชายฝั่งทะเล ริมฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้นไปจนถึงป่าดิบเขาสูง 1,000 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

ประเทศเขตร้อนทั่วไป พม่า จีนตอนใต้ ลาว เสียดนาม มาเลเซีย จนถึงปาปัวนิวกินี และฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่งหรือลำต้น

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

เปลือก ใช้ทำเชือก และกระดาษที่มีคุณภาพต่ำ มีการใช้เป็นยาพื้นบ้าน เปลือกลำต้น ใช้แช่น้ำดื่มเป็นยาระบายท้องและทำให้อาเจียน

ใบ บดเป็นผงใส่แผลสด แผลเรื้อรังเป็นยาสมานแผลและกินแก้ไอ หลอดลมอักเสพ และใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ

ดอก ต้มกับน้ำนม หยอดใส่หูแก้อาการเจ็บหู

ราก ใช้เป็นยา แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายท้องและทำให้อาเจียน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.752 น.

Floridata. 2015. “Hibiscus tiliaceus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://floridata.com/Plants/Malvaceae/Hibiscus%20tiliaceus/567 (4 พฤศจิกายน 2560)

The Plant List. 2013. “Hibiscus tilliaceus L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-19602250 (10 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้