รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02729


ชื่อวิทยาศาสตร์

Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don

สกุล

Holarrhena R.Br.

สปีชีส์

pubescens

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Chonemorpha antidysenterica (Roth) G.Don

Echites adglutinatus Burm.f.

Holarrhena codaga G.Don

Physetobasis macrocarpa Hassk.

ชื่อไทย
โมกใหญ่
ชื่อท้องถิ่น
ซอทึ พอแก ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ พุด (กาญจนบุรี)/ พุทธรักษา (เพชรบุรี)/ มูกมันน้อย มูกมันหลวง มูกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกหลวง หนามเนื้อ (ภาคเหนือ)/ ยางพูด (เลย)
ชื่อสามัญ
Bitter Oleander/ Easter Tree/ Jasmine Tree
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น สูงถึง 15 ม. มียางขาว

ใบ ใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 2.4-11.5 ซม. ยาว 4.5-27.0 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกที่ซอกใบ ยาว 3.8-9.0 ซม. กลีบดอก สีขาวโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 8-14 มม. ปลายแยกเป็นแฉก รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 4-7 มม. ยาว 9-21 มม. ปลายมน

ผล ผลแบบแห้งแตกห้อยลง ยาว 18-43 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

มักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แสงแดดส่องถึง

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้-ตอนกลาง เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย เคนยา ลาว มาลาวี มลายา โมซัมบิก พม่า เนปาล ปากีสถาน แทนซาเนีย ไทย เวียดนาม เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก แซมเบีย ซาร์อี และซิมบับเว

การกระจายพันธุ์

จีนตะวันออกเฉียงใต้ ไห่หนาน มอริเชียส และไต้หวัน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

เปลือกต้น มีรสร้อนขมฝาด มีสรรพคุณแก้บิด(ปวดเบ่ง มีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย) รู้ปิดธาตุ เป็นยาเจริญอาหาร แก้เสมหะเป็นพิษ บำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ ปรุงเป็นยาแก้โรคเบาหวาน แก้ไข้จับสั่น ต้มน้ำดื่ม ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ หากใช้มากเกินไปจะทำให้นอนไม่หลับ ปั่นป่วนในท้อง
เปลือกต้นแห้ง ป่นละเอียดทาตัว แก้โรคท้องมาน แก้เสมหะเป็นพิษ ปรุงเป็นยาแก้เบาหวาน แก้ไข้จับสั่น
ใบ มีรสฝาดเมา ขับน้ำนม ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ ใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ฝี และแผลพุพอง
ดอกเป็นยาถ่ายพยาธิ
ฝัก มีรสฝาด ขม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง
เมล็ด มีรสฝาดขม เป็นยาฝาดสมาน ขับลม ใช้แก้ไข้ ท้องเสีย  แก้บิด ช่วยถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก และรักษาโรคผิวหนัง แก่น มีรสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน
ราก มีรสร้อน เป็นยาขับโลหิตระดู
เปลือกต้นและน้ำมันจากเมล็ด ใช้รักษาโรคท้องร่วง
เปลือกหรือใบ ต้มผสมน้ำอาบรักษาโรคหิด

นิยมปลูกโมกใหญ่เป็นไม้ประดับ หรือไม้ยืนต้นเพื่อความสวยงาม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “โมกใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search.asp?txtsearch=โมกใหญ่ (5 เมษายน 2560)

Phargarden.com. 2010. “โมกหลวง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=99 (11 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-99622 (5 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:79318-1 (5 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้