รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02744


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hopea ferrea Laness.

สกุล

Hopea Roxb.

สปีชีส์

ferrea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Balanocarpus anomalus King

ชื่อไทย
ตะเคียนหิน
ชื่อท้องถิ่น
เคียนทราย (ตรัง, ตราด)/ ตะเคียนหนู (นครราชสีมา)/ เหลาเตา (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-30 ม. กิ่งอ่อนมีขนประปราย

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบรูปลิ่ม มีตุ่มใบตามซอกเส้นแขนงใบ

ดอก ดอกขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง กลีบดอกบิดเวียน

ผล ผลเปลือกแข็ง เมล็ดเดียว เกลี้ยง รูปทรงคล้ายกระสวย กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีกยาว 2 ปีก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบทุกภาค บริเวณป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา

การกระจายพันธุ์

เอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา

-เนื้อไม้ ทนทานและแข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือน เรือ เสา สะพาน หมอนรางรถไฟ เนื้อไม้ชั้นใน ใช้เข้ายารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กษัย เปลือก ต้มน้ำใช้ล้างแผลหรือผสมกับเกลืออมเพื่อป้องกันฟันผุ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ตะเคียนหิน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_page.asp (5 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Hopea ferrea Laness.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2853154 (5 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Hopea ferrea Laness.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:320889-1 (6 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้