รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02851


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hoya finlaysonii Wight.

สกุล

Hoya R.Br.

สปีชีส์

finlaysonii

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
พญามุวลินทร์
ชื่อท้องถิ่น
นมเมีย (ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้เลื้อย มีน้ำยางขาว

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้าง 6 ซม. ยาว 20 ซม. ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เส้นใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม มีได้ถึง 40 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 2.5 ซม. เรียงแบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว 2-3 ซม. กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีเหลืองครีมแกมแดง มงกุฎสีขาว

ผล เป็นฝักคู่ปลายแหลม กว้าง 0.4-0.6 ซม. ยาว 10-14 ซม.

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ร่มรำไร อากาศเย็น มีความชื้น ในประเทศไทยพบที่ภาคใต้ ตามป่าดิบริมแม่น้ำ

ถิ่นกำเนิด

บอร์เนียว มลายา สุมาตรา และไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกในฤดูฝน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่ ปลูกเลื้อยตามซุ้ม ตามต้นไม้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “พญามุจลินทร์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1005 (10 พฤศจิกายน 2560)

Gardino Nursery. “HOYA FINLAYSONII.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.rareflora.com/hoyafin.html (10 พฤศจิกายน 2560)

Hoyor.net. “Hoya finlaysonii Wight.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.hoyor.net/en/showspecies.php?id=148 (10 พฤศจิกายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Hoya finlaysonii Wight.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:98465-1 (10 พฤศจิกายน 2560)

Vermont Hoyas. “Hoya finlaysonii.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://vermonthoyas.com/e-k/hoya-finlaysonii/ (10 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้