รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00291


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ageratum conyzoides L.

สกุล

Ageratum L.

สปีชีส์

conyzoides

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Ageratum album Hort.Berol. ex Hornem.

Ageratum arsenei B.L.Rob.

Ageratum ciliare L.

Ageratum ciliare Lour.

ชื่อไทย
สาบแร้งสาบกา
ชื่อท้องถิ่น
หญ้าสาลแร้ง (ราชบุรี)/ ตับเสื้อเล็ก (สิงห์บุรี)/ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่)/ เทียมแม่ฮาง (เลย), หย่าเม่น(ปะหล่อง)/ นกนาซี(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ เช้งอั่งโชว (จีน–แต้จิ๋ว)/ หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี)
ชื่อสามัญ
Billy-goat weed
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ้ม แตกกิ่งก้านสาขา มีขนตามกิ่งก้าน วัชพืช ความสูง 50-100 ซม.

ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แต่ตรงส่วนยอดใบจะเรียงสลับกัน ใบรูปไข่ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-10 ซม. โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจักเป็นซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่น เนื้อใบบาง ก้านใบยาว 2-8 มม.

ดอก: ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับรูปรีแคบ มีขนตามขอบ ดอกเล็กสีขาวหรือม่วงอ่อน อัดแน่นอยู่บนแกนช่อแบน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบเลี้ยงลดรูป เกสรเพศผู้มี 5 อัน

ผล: เป็นผลแห้ง ไม่แตก สีน้ำตาลดำ รูปเส้นตรง ส่วนบนจะมีขนสั้นอยู่ 5 เส้น

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ดิน: ดินทั่วไป
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: ตลอดวัน

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง และแคริบเบียน

การกระจายพันธุ์

อเมริกาใต้ - อาร์เจนตินา, ปารากวัย, บราซิล, โบลิเวีย, เปรู, เอกวาดอร์, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, กายอานา

อเมริกากลาง - ปานามา ไปเม็กซิโก

แคริบเบียน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

รากและใบ เคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร แก้ไข้ ปวดศีรษะ ตำพอกหรือคั้นน้ำ ทารักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด แก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบหรือแมลงป่อง ใบใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว

ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ขับระดู ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ต้มน้ำให้เด็กอาบรักษาอาการเบื่ออาหารในเด็ก และแก้ช่องทวารหนักหย่อนยาน

ใบ ห้ามเลือด คั้นน้ำดื่ม ช่วยให้อาเจียน ตำพอกแก้คัน หยอดแก้ตาเจ็บ ทาภายนอกแก้ปวดบวม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Billy-goat weed.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=61&name=Billy-goat%20weed%20&txtSearch=&sltSearch= (25 ตุลาคม 2559)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “สาบแร้งสาบกา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/goat-weed/ (25 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Ageratum conyzoides (L.) L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-114457 (25 ตุลาคม 2559)

Useful Tropical Plants. 2017. “Ageratum conyzoides.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Ageratum+conyzoides (25 ตุลาคม 2559)

wikipedia. “สาบแร้งสาบกา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/สาบแร้งสาบกา (25 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้