รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00300


ชื่อวิทยาศาสตร์

Aglaia odorata Lour.

สกุล

Aglaia Lour.

สปีชีส์

odorata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Aglaia odorata var. odorata

Opilia odorata (Lour.) Spreng.

Aglaia chaudocensis Pierre

Aglaia pentaphylla Kurz

ชื่อไทย
ประยงค์
ชื่อท้องถิ่น
ขะยง (เหนือ)/ ขะยม (เหนือ)/ ประยงค์ใบใหญ่ (กลาง,ใต้)/ พะยงค์(เหนือ)/ ยม(ชุมพร,เหนือ)/ หอมไกล(ใต้)
ชื่อสามัญ
Chinese Rice flower
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งง่าย สูง 2-5 ม. แตกกิ่งก้าน ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ ตั้งแต่โคนต้นเปลือกต้นเรียบ สีเทา

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปึก ใบย่อย 5 ใบ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 5-8 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บานออก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 มม. กลิ่นหอมแรง

ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง ขนาด 4-5 มม.

เมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดินฟ้าอากาศ ทนความแห้งแล้งได้ดีมาก แต่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน เพราะจะช่วยทำให้มีทรงพุ่มสวยงาม

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พบในประเทศกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย พม่า ไต้หวัน ไทย เวียดนาม และลาว

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำดี สภาพแดดจัด

ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดออกรากง่ายแต่โตช้า

ระยะเวลาการติดดอก
สิงหาคม–ธันวาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ใบ, ก้าน มีรสเฝื่อน พอกแก้ฟกช้ำจากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก แผลฝีหนอง ต้านมะเร็ง

ดอก มีรสเฝื่อนขมเล็กน้อย แก้ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง ลดการอึดอัดแน่นหน้าอก แก้เมาค้าง ดับร้อน แก้กระหายน้ำ ต้านมะเร็ง ช่วยเร่งการคลอด ฟอกปอด

ราก มีรสเย็นเฝื่อน ทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อ ยาเมา แก้เลือด แก้กำเดา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ผอมแห้งแรงน้อย แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ไข้

ดอก ตากแห้ง ผสมใบชาชงดื่ม นอกจากจะทำให้ชากลิ่นหอมขึ้นแล้ว ยังมีสรรพคุณแก้ร้อนดับกระหาย แก้อึดอัดแน่นหน้าอก แก้เวียนศีรษะ แก้อาการเมาค้าง ทำให้หูตาสว่าง จิตใจปลอดโปร่ง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2552. ไม้ดอกหอม ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 351 น.

Missouri Botanical Garden. “Aglaia odorata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.missouribotanicalgarden.org/PlantFinder/PlantFinderDetails.aspx?taxonid=282709 (28 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Aglaia odorata Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2626465 (28 เมษายน 2560)

wikipedia. “Aglaia odorata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Aglaia_odorata (28 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้