รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00302


ชื่อวิทยาศาสตร์

 Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker

สกุล

Aphanamixis Blume

สปีชีส์

polystachya

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Aglaia aphanamixis Pellegr. 

 Aglaia cochinchinensis (Pierre) Pellegr.

Aglaia janowskyi Harms

Aglaia polystachya Wall.

Alliaria cuneata (Hiern) Kuntze

ชื่อไทย
ตาเสือ
ชื่อท้องถิ่น
เลาหาง (เชียงใหม่)/ ขมิ้นดง (ลำปาง)/ เซ่ (แม่ฮ่องสอน)/ เย็นดง (กำแพงเพชร)/ ตาปู่ (ปราจีนบุรี)/ มะยมหางก่าน (บุรีรัมย์)/ ตุ้มดง (กระบี่)/ มะหังก่าน มะฮังก่าน มะอ้า (ภาคเหนือ)/ โกล ตาเสือ (ภาคกลาง)/ แดงน้ำ (ภาคใต้)/ เชือย โทกาส้า พุแกทิ้ เส่ทู่เก๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน)/ ยมหังก่าน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ตาเสือเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงได้ถึง 25 ม. เปลือกต้นมีความหนาแตกเป็นสะเก็ดหลุดล่อนออก ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง

ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบกลมเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นๆ ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 3-7 ซม. และความยาวประมาณ 6-18 ซม. แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม

ดอก: ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงยาว โดยจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งช่อดอกเพศผู้ ช่อดอกเพศเมีย และช่อดอกที่มีทั้งสองเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 3 แฉก สีเขียวและมีขน ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล: ผลมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 3.5-5 ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2-3 ซีก

เมล็ด: ภายในผล เมล็ดสีน้ำตาลดำและมีเยื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ทั่วไปบริเวณป่าดิบทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง 400-1,000 ม.

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า และศรีลังกา

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไปนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

เนื้อไม้ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เพราะเนื้อไม้มีความแข็ง เหนียว มีความแข็งแรงทนทานดี

เปลือกต้น กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ แก้บิดมูกเลือด ขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก สมานแผล แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้ปวดตามข้อ

แก่น สมานท้องไส้

ใบ แก้บวม

ผล แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ผลใช้เป็นอาหารของนกเงือก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “ตาเสือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=305 (13 กุมภาพันธ์ 2560)

Thaiherbal.org. 2558. “ตาเสือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/2270/2270 (13 กุมภาพันธ์ 2560)

The Plant List. 2013. “Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2643324 (13 กุมภาพันธ์ 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Aphanamixis polystachya.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Aphanamixis+polystachya (13 กุมภาพันธ์ 2560)

wikipedia. “Aphanamixis polystachya.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Aphanamixis_polystachya (13 กุมภาพันธ์ 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้