รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03298


ชื่อวิทยาศาสตร์

Asystasia gangetica (L.) T.Anderson

สกุล

Asystasia Blume

สปีชีส์

gangetica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Asystasia acuminata Klotzsch

Asystasia bojeriana Nees

Asystasia calycina Nees

Asystasia comorensis var. humilis Nees

Asystasia coromandeliana Nees

 

ชื่อไทย
บุษบาฮาวาย/ บาหยา
ชื่อท้องถิ่น
ผักกูดเน่า (เชียงใหม่)/ ย่าหยา (กทม.)
ชื่อสามัญ
Chinese violet/ Coromandel/ Creeping foxglove
ชื่อวงศ์
ACANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็น 4 เหลี่ยม ตั้งตรงหรือเลื้อย มีขน สูง 1 ม. 

ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปไข่ กว้าง 2.4-3.5 ซม. ยาว 3.0-4.5 ซม. ปลายแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน มีขนนุ่ม ผิวใบด้านหลังใบมีซิสโทลิท (cystolith) หรือผลึกของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ผิวใบสะสะมอยู่มาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายยอด ช่อดอกยาว 16 ซม. ดอกรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกมีขน ด้านในเรียบ ดอกสีขาว สีเหลือง หรือสีม่วงอ่อน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว โคนหลอดกว้าง 3 มม. กลีบกลางมีปากล่างสีม่วง หรือสีออกม่วงเข้มอมน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขน ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ขนาด 5 มิลลิเมตร มี 2 แผ่น มีขน ใบประดับย่อย รูปหอกแกมรูปเส้นตรง ขนาด 1-2.5 มม. มีขน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สีขาว

ผล แตกเมื่อแห้ง กว้าง 2 ซม. ยาว 1.3 ซม. รูปทรงกระบอก มีขนปกคลุม  ผลแก่แตกเป็น 2 ซีก 3-4 เมล็ด เมล็ดรูปไต แบน สีน้ำตาล ขนาด กว้าง 0.5-3.0 มม. ยาว 3-5 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นตามที่รกร้าง ริมน้ำ ชายคลอง ทั่วไป

ดินดินร่วน ระบายน้ำดี
น้ำปานกลาง
แสงแดดเต็มวัน

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดเดิมไม่ชัดเจน แต่สันนิฐานว่าอยู่ใน เอเชีย แอฟริกา

การกระจายพันธุ์

แพร่หลายไปในเขตร้อนทั่วโลก เข้าสู่อเมริกาในเขตร้อน และฮาวาย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
กันยายน-ธันวาคม
ระยะเวลาการติดผล
ธันวาคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดิน

ใบ แก้ปวดบวม แก้ปวดตามข้อ ถ่ายพยาธิ และเป็นพืชอาหาร ใช้กินเป็นผัก รักษาเบาหวาน

ทั้งต้น  กินเป็นผัก ใช้รักษาโรคข้อรูมาติซึม น้ำสกัดจากต้นใช้ขับพยาธิ แก้อาการบวม รักษาโรคข้อรูมาติซึม โรคโกโนเรีย รักษาโรคหู

ราก ใช้ภายนอก แก้ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “บาหยา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=233 (13 มิถุนายน 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “บาหยา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/creeping-foxglove/ (13 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Asystasia gangetica (L.) T.Anderson.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2664335 (13 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. “Asystasia gangetica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Asystasia_gangetica (13 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้