รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03320


ชื่อวิทยาศาสตร์

Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC.

สกุล

Kopsia Blume

สปีชีส์

fruticosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Calpicarpum roxburghii G.Don

Cerbera fruticosa Roxb.

Cerbera fruticosa Ker Gawl.

Kopsia roxburghii (G.Don) Pharm. ex Wehmer

Kopsia vinciflora Blume

Tabernaemontana longiflora Rusby

Tabernaemontana rosea Ten.

 

ชื่อไทย
อุณากรรณ/ พุดชมพู
ชื่อท้องถิ่น
ตึ่งตาใส (เหนือ)/ พุดชมพู (กทม.)
ชื่อสามัญ
Pink Kopsia
ชื่อวงศ์
APOCYNACEA
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูง 10 ม. 

ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้าง 3.3-8.0 ซม. ยาว 7.5-18.0 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม 

ดอก ออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง ยาว 7-12 ซม. มีขนสั้น ดอกบานประมาณ 5.5 ซม.  กลีบรอง ดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบบนแยก 5 แฉก กลีบดอก สีชมพูอ่อน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแผ่เป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอก

ผล ผล สีดำแดง ยาว 1.5-1.7 ซม. ปลายผลเป็นจงอยเด่น

เมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในสภาพธรรมชาติ พบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูน พื้นที่สูง 500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศพม่า

การกระจายพันธุ์

พบในประเทศจีน เมียนม่าห์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-กันยายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “พุดชมพู.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1493 (14 มิถุนายน 2560)

Photomazza. “Kopsia fruticosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.photomazza.com/?Kopsia-fruticosa (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-106327 (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้