รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03336


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet

สกุล

Lansium Corrêa

สปีชีส์

parasiticum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Lansium domesticum Corrêa

ชื่อไทย
ลางสาด
ชื่อท้องถิ่น
ลางสาดเขา(นราธิวาส) / ลองกอง(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
Langsat / Longkong
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงประมาณ 10-15 ม. 

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อย รูปรี รูปไข่ ใบหยักเป็นคลื่น ใบบาง เป็นมัน 

ดอก ออกเป็นช่อ ดอกสีเหลือง 

ผล ออกตามลำต้น หรือกิ่งแก่ สีเหลืองอ่อน รูปกลมถึงรูปรี เปลือกบาง มีขนนุ่ม มียางสีขาว เนื้อใส หุ้มเมล็ด

เมล็ด 5 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เติบโตได้ดีในดินที่ค่อนข้างชื้นตลอดปี หรือ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก แต่ควรเป็นที่ราบ และสามารถระบายน้ำได้ดี ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง

ถิ่นกำเนิด

มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

เปลือกผล รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง เผาไฟไล่ยุง  สามารถแก้อาการท้องร่วงท้องเดินได้ โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด กินครั้งละครึ่งถ้วย เมล็ด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อักเสบ หรือเป็นฝีในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาเริมและงูสวัดได้

เมล็ด รสขม ต้มดื่มแก้ไข้ ขับพยาธิ

เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้โรคกระเพาะ ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้

เนื้อลางสาด ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 และวิตามินซี เปลือกต้น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้ 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สมุนไพรดอทคอม. 2017. “ลางสาด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.samunpri.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%94/ (14 มิถุนายน 2560)

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ลางสาด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10494#top (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2494222 (14 มิถุนายน 2560)

wikipedia. “Lansium parasiticum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Lansium_parasiticum (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้