รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03337


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet

สกุล

Lansium Corrêa

สปีชีส์

parasiticum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Aglaia aquea (Jacq.) Kosterm.

ชื่อไทย
ลองกอง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Longkong
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นค่อนข้างกลมและตั้งตรง โดยทั่วไปจะสูงประมาณ 15-30 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30-40 ซม. เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบบาง มีสีขาวปนน้ำตาล

ใบ ใบย่อยแตกออกจากก้านใบเป็นคู่ตรงข้าม ก้านใบยาวประมาณ 30-50 ซม. ใบย่อยกว้างประมาณ 5-7.5 ซม. ยาวประมาณ 10-15 ซม. ใบมีขนาดใหญ่ หนา ใต้ใบเรียบไม่มีขน ด้านหน้าของใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านหลังใบเป็นสีเขียวจาง ลักษณะใบยาวรีหรือป้อมเป็นรูปไข่ ปลายใบมนเป็นคลื่น เส้นใบย่อยลึก

ดอก เป็นดอกรวมอยู่ในช่อดอก การจัดเรียงของดอกภายในช่อเป็นแบบสลับกัน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบของดอก มี 5 กลีบ ดอกสามารถเจริญเป็นผลโดยไม่ต้องมีการผสมเกสร

ผล มีลักษณะกลมรีเล็กน้อย จำนวนผล 10-40 ผล/ช่อ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-2.5 ซม. บนผิวเปลือกจะมีตุ่มนูนเล็ก ๆ เป็นต่อมน้ำหวาน เปลือกแท้จะไม่มียาง

เมล็ด ในผลหนึ่งจะมีเมล็ดน้อยเพียง 1-2 เมล็ด หรือบางผลมีเพียงเมล็ดลีบเท่านั้น เมล็ดที่สมบูรณ์ค่อนข้างใหญ่ รูปร่างกลมรี ด้านหนึ่งโค้งมน ด้านหนึ่งแบนราบ มีสีเขียวอมเหลือง มีรอยแตก

ราก มีระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย แผ่กระจายห่างจากลำต้นประมาณ 3-5 ม. มีความลึกไม่เกิน 20 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เติบโตได้ดีในดินที่ค่อนข้างชื้นตลอดปี หรือ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก แต่ควรเป็นที่ราบ และสามารถระบายน้ำได้ดี ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง

ถิ่นกำเนิด

มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด การเสียบยอด การทาบกิ่ง การติดตา

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ผลแก่ สามารถนำมารับประทานสดได้ มีรสหวาน อร่อย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “ลองกอง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://natres.psu.ac.th/researchcenter/tropicalfruit/fruit/longkong.htm (17 มกราคม 2560)

puechkaset. “ลองกอง สรรพคุณ และการปลูกลองกอง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/ลองกอง/ (17 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (17 มกราคม 2560)

wikipedia. “Lansium parasiticum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Lansium_parasiticum (14 มิถุนายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้