Leea indica (Burm.f.) Merr.
Leea D.Royen
indica
-
-
Staphylea indica Burm. f.
Leea celebica C.B. Clarke
ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. ลำต้นคล้ายทรงกระบอกแตกกิ่งก้าน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ผิวใบเกลี้ยง หูใบรูปไข่กลับ กว้าง 2.0-3.5 ซม. ยาว 2.5-4.5 ซม. ปลายกลม ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ก้านใบยาว 13-23 ซม. ก้านใบย่อยกลางยาว 2-5 ซม. ก้านใบย่อยด้านข้างสั้นกว่า ขนาด 0.2-0.5 ซม. แกนกลางใบยาว 14-30 ซม. แผ่นใบรูปรี รูปรียาว หรือรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5-8.0 ซม. ยาว 6-32 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย
ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง หรือแบบช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. มีขนสีน้ำตาล วงใบประดับรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 0.3-0.8 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ใบประดับรูปรีโค้งรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5-3.0 มม. ยาว 3-4 มม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ผลัดใบ ก้านดอกยาว 1-2 มม. มีขนสั้นนุ่มสีสนิม วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดรูปคนโท กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ผิวเกลี้ยง กลีบดอกรูปรี ยาว 1.8-2.5 มม. ผิวเกลี้ยง สีขาวหรือสีเขียวอมขาว หลอดเกสรเพศผู้เป็นหมันยาว 0.5-1.0 มม. มีเกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่ทรงกลม
ผล ลักษณะกลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.0 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มถึงสีม่วงดำ
เมล็ด มี 4-6 เมล็ด
พบในป่าเต็งรัง ชอบแสงแดดรำไร ใต้ร่มไม้ใหญ่ ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย พื้นที่สูง 200-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
ทวีปเอเชีย
ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย ออสเตรเลียเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิก
เพาะเมล็ด
ลำต้น นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วง รักษาโรคนิ่ว หรือแก้ไอ
ราก มีรสเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง
ผล ผลสุก รับประทานได้
-
คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “กะตังใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=607&name=%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A (19 พฤศจิกายน 2559)
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กะตังใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=all&Itemid=59 (19 พฤศจิกายน 2559)
Flora of China. “Leea indica” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200013488 (19 พฤศจิกายน 2559)
The Plant List. 2013. “Leea indica (Burm. f.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-34000941 (19 พฤศจิกายน 2559)
-
-
กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้