รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03397


ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros glandulosa Lace

สกุล

Diospyros L.

สปีชีส์

glandulosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
กล้วยฤาษี
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยฤๅษี (ภาคเหนือ)/ จันป่า (เชียงใหม่)/ มะเขือเถื่อน (เลย)/ เหล่โก่มอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)/ อาล่องยุ้ม (ละว้า-เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
EBENACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปมนหรือขอบขนาน กว้าง 3-5.5 ซม.ยาว 8-14 ซม.โคนสอบทู่ๆ ปลายหยักเป็นติ่งแหลมสั้น หลังใบมีขนนุ่ม

ดอก ออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อเล็กๆตามง่ามใบ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ทั้งกลีบดอก และกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 4-5 กลีบ ก้านดอกมีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกยาว 4-6 มม. โคนกลีบเป็นรูปถ้วยปากกว้าง มีขนยาวๆ เป็นเส้นไหม กลีบดอกยาว 6-8 มม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ เกสรตัวผู้มี 14-30 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า

ผล กลมหรือค่อนข้างกลมแป้น โต วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 ซม. สูง 2.5-3.5 ซม.ผลแก่มีขนเป็นกระจุกแน่นตามบริเวณกลีบขั้วและปลายผล กลีบขั้วเหยียดแผ่ ขอบกลีบเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ผลแก่เป็นสีดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นตามป่าดิบเขา และป่าทุ่งหญ้า ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 750-1,500 เมตร

ถิ่นกำเนิด

ทวีปเอเชีย

การกระจายพันธุ์

พบที่อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ผลสุกกินได้ เนื้อไม้แข็ง มัน หนักมีลาย สวย ชักเงาได้ดี นิยมใช้ทำด้ามปืน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กล้วยฤาษี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/BOTANIC_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=784 (25 กันยายน 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "กล้วยฤๅษี." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=448&words=กล้วยฤๅษี&typeword=word (25 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Diospyros glandulosa Lace.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2769829 (25 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้