รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03426


ชื่อวิทยาศาสตร์

Litsea glutinosa (Lour.) C. B. Rob.

สกุล

Litsea Lam.

สปีชีส์

glutinosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Camellia integrifolia Choisy

Decapenta involucrata Raf.

Dodecadenia robusta Zoll. & Moritzi

ชื่อไทย
หมีเหม็น
ชื่อท้องถิ่น
ดอกจุ๋ม(ลำปาง) / ตังสีไพร(พิษณุโลก) / ทังบวน(ปัตตานี) / ม้น (ตรัง) / มะเย้อ, ยุบเหยา(ชลบุรี,เหนือ) / หมี(จันทบุรี,อุดรธานี) / หมูทะลวง(จันทบุรี) / หมูเหม็น(แพร่) / อีเหม็น(กาญจนบุรี,เหนือ)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
LAURACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นแก่แตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนละเอียด 

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง กว้าง 5-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบกลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเป็นครีบ หรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร มีขน ใบประดับ 4 ใบ มีขน เนื้อใบค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว 

ดอก: ออกเป็นช่อซี่ร่มออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปเหลือ 1-2 กลีบ หรือไม่มีเลย รูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 9-20 อัน กลีบเลี้ยงรูปกลม มี 4 กลีบ อับเรณูเป็นแบบฝาเปิด ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมลดรูปเหลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่มี ก้านช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกกัน 

ผล: ผลสดรูปทรงกลม ผิวมัน เรียบ ผลอ่อนสีเขียว แก่สีม่วงเข้มเกือบดำ ก้านผลมีขน มีเมล็ดเดียวแข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ที่ความสูง 500-1900 ม.

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ ถึงมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก

การกระจายพันธุ์

ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ใบ ขยี้กับน้ำ สระผม พอกศีรษะ ฆ่าเหา ขับปัสสาวะ แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง 

ใบและเมล็ด มีรสฝาดเฝื่อน ตำพอกฝี แผลหนอง แก้ปวด

ราก เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง แก้ปวดกล้ามเนื้อ 

เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก  แก้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ฝนทาแก้พิษแมลงกัดต่อย ผื่นคันแสบร้อน บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ  

ผลดิบ ให้น้ำมันเป็นยาถูนวดแก้ปวด ผลสุก กินได้ 

เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี 

ยาง มีรสฝาดร้อน ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “หมี่.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=127 (27 พฤษภาคม 2560)

Flora of China. “Litsea glutinosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200008844
(27 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Rob.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2352381 (27 พฤษภาคม 2560)

wikipedia. “Litsea glutinosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Litsea_glutinosa (27 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้