รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03452


ชื่อวิทยาศาสตร์

Luffa acutangula (L.) Roxb.

สกุล

Luffa Mill.

สปีชีส์

acutangula

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cucumis acutangulus L.

Cucumis lineatus Bosc

Cucumis megacarpus G.Don

Cucumis operculatus Roxb. ex Wight & Arn.

ชื่อไทย
บวบเหลี่ยม
ชื่อท้องถิ่น
ตะโกซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ กะตอรอ (มลายู – ปัตตานี)/ เดเรเนอมู, เดเรส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)/ บวบหวาน (แม่ฮ่องสอน)/ มะนอย, หมักนอย (เชียงใหม่)/ มะนอยข้อง, มะนอยงู, มะนอยเลี่ยม (เหนือ)
ชื่อสามัญ
Angled loofah
ชื่อวงศ์
CUCURBITACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มีอายุเพียงปีเดียว ยอดอ่อนนุ่ม  ลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อมีมือเกาะเป็นเส้นยาว

ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน, แผ่นใบรูป 5–7 เหลี่ยม ขอบใบมีรอยเว้าตื้น ๆ  โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบเป็นเหลี่ยม ยาว 4–9 ซม.

ดอก ดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ อยู่บนต้นเดียวกัน และมักจะออกตามซอกใบแห่งเดียวกัน อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ สีเหลือง มีเกสรผู้ 3 อัน ดอกเพศเมีย มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่รูปขอบขนาน

ผล ทรงกระบอก ยาวประมาณ 20 ซม. โคนเรียวเล็ก มีเหลี่ยมเป็นสันคม 10 สัน ตามความยาวของผล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

บวบเหลี่ยม สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และดินค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ในดินมีความชื้นสูงพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรได้รับ แสงแดด เต็มที่ในระหว่างการปลูก 

ถิ่นกำเนิด

เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

เอเชีย - อนุทวีปอินเดีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผล ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม หรือลวกกินกับน้ำพริก
ราก น้ำต้มราก กินเป็นยาระบาย และแก้อาการบวมน้ำ 
ใบ น้ำต้มใบ กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ระดูผิดปกติ และขับเสมหะ ตำเป็นยาพอก ใช้ทาถอนพิษในคนไข้ม้ามโต แก้โรคริดสีดวงทวาร โรคเรื้อน ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย และแก้คัน 
ผล กินได้ มีวิตามิน และแต่ธาตุหลายชนิด มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ 
เมล็ด เนื้อเมล็ด กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ขับนิ่ว กินมาก ๆ ทำให้อาเจียน ขับพยาธิตัวกลม, โดยให้กินขณะท้องว่าง 
เมล็ด ติดต่อกัน 2 วัน ถ้าใข้ในปริมาณน้อยเป็นยาแก้บิด น้ำมันเมล็ด ใช้ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด และถ้าบริสุทธิ์พอก็ใช้กินได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Angled loofahr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1075&name=Angled%20loofah%20-%20Angled%20loofah%20[1]&txtSearch=&sltSearch= (11 กุมภาพันธ์ 2560)

The Plant List. 2013. “Luffa acutangula (L.) Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2338862 (11 กุมภาพันธ์ 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Luffa acutangula.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Luffa+acutangula (11 กุมภาพันธ์ 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้