รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03464


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lumnitzera racemosa Willd.

สกุล

Lumnitzera Willd.

สปีชีส์

racemosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Combretum alternifolium Wight & Arn.

Funckia karakandel Dennst.

ชื่อไทย
ฝาดขาว
ชื่อท้องถิ่น
กะลูง (ชุมพร)/ ขวาด (สมุทรสาคร)/ ฝาด (กลาง, ใต้)/ ลำแพน, ลำแพนหิน (ตราด)/
ชื่อสามัญ
Butterfly-poll
ชื่อวงศ์
COMBRETACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-10 ม. มีรากหายใจรูปเข่า ลำต้นตรง เนื้อแข็ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอ่อน 

ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ หนาแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนามันคล้ายแผ่นหนังทั้งสองด้าน อวบน้ำ รูปไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 ซม.ปลายใบกลมเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่

ดอก ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ฐานรองดอกและหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6-0.9 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบถึงรูปใบหอก สีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่ากับกลีบดอก

ผล ผลรูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 1-1.3 ซม. ผิวผลเกลี้ยง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามชายฝั่งทะเลในเขตร้อนชื้น

ดินดินเหนียว ระดับน้ำ 10-15 ซม.
แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน

ถิ่นกำเนิด

แอฟริกาตะวันออก กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์

บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม แอฟริกาตะวันออก (รวมทั้งมาดากัสการ์), ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย, หมู่เกาะแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือก นำมาทุบแช่น้ำให้สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์

สามารถปลูกเป็นพืชประดับเพื่อความสวยงามได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ฝาดขาว” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2345 (29 มกราคม 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ฝาดขาว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://book.baanlaesuan.com/plant-library/terentum-merah/ (29 มกราคม 2560)

Flora of China. “Lumnitzera racemosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200014740(29 มกราคม 2560)

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Lumnitzera racemosa Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=4411 (29 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Lumnitzera racemosa Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2338861 (29 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้