รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03477


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dolichandra unguis-cati (L.) L.G.Lohmann

สกุล

Dolichandra Cham.

สปีชีส์

unguis-cati 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Macfadyena unguis-cati (L.) A.H.Gentry

Batocydia unguis-cati (L.) Mart. ex Britton

Bignonia californica Brandegee

Bignonia catharinensis Schenck

ชื่อไทย
เหลืองชัชวาลย์
ชื่อท้องถิ่น
เล็บวิฬาร์ (กทม.)
ชื่อสามัญ
Anikab/ Bejuco Edmurcielago/ Mano de Lagarija
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก สามารถทอดเลื้อยไปได้ไกล มักเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ เลื้อยเกาะโดยใช้มือพันที่ปลายแยกเป็น 3 แฉก คล้ายเล็บแมว ลำต้นหรือกิ่งของเหลืองชัชวาลย์อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ได้ถึง 8 ซม. สามารถเลื้อยไปได้สูงถึง 20 ม. เมื่อต้นยังอายุไม่มากลำต้นมีสีเขียว ไม่มีขน ขนาดเล็ก ใช้หนวดกรงเล็บแมวเพื่อยึดเกาะ กิ่งก้านและยอดอ่อนเส้นเล็กๆ แต่มีความเหนียวแข็งแบบสปริงเด้งไปเด้งมาได้

ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลม ใบสีเขียว ผิวใบด้านล่างสาก ขนาดใบกว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-10 ซม.

ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบและปลายยอด 3-5 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยรูปแตร ลักษณะโคนดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ ยาว 4.5-1.0 ซม. และกว้าง 1.2-2.4 ซม. ดอกมีสีเหลืองสด เส้นดอกบริเวณโคนกลีบสีส้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 7 ซม.ดอกบานเพียงวันเดียว แต่จะมีดอกอื่นๆ ทยอยบานให้ได้เห็นดอกทุกวัน

ผล: เป็นฝักมีลักษณะเหมือนพวกถั่ว แต่แบน ขนาดยาวประมาณ 26-95 ซม. และกว้าง 1.0-1.9 ซม.

เมล็ด: เมล็ดสีน้ำตาลลักษณะแบบมีปีกที่ปลิวไปตามลมได้ประมาณ 100-200 เมล็ด เมล็ดมีขนาดยาว 1.8-1.8 ซม. และกว้าง 4.2-5.8 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแคริบเบียน

การกระจายพันธุ์

เม็กซิโก และหมู่เกาะอินดีสตะวันตกถึงอาร์เจนตินา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ปักชำ

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับรั้วหรือซุ้มต่างๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2552. ร้อยพรรณไม้เลื้อยแสนสวย. เศรษฐศิลป์. กรุงเทพมหานครฯ. 240 น.

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “เหลืองชัชวาล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/cat_claw_ivy/ (30 พฤษภาคม 2560)

อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Dolichandra unguis-cati (L.) L.G.Lohmann.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-320930 (30 พฤษภาคม 2560)

wikipedia. “Dolichandra unguis-cati.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Dolichandra_unguis-cati (30 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้