รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03503


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mallotus barbatus Müll.Arg.

สกุล

Mallotus Lour.

สปีชีส์

barbatus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Mallotus barbatus var. barbatus

Mallotus conspurcatus Croizat

Mallotus leveillanus Fedde

Mallotus lotingensis F.P.Metcalf

Mallotus luchenensis F.P.Metcalf

ชื่อไทย
ตองเต๊า
ชื่อท้องถิ่น
ปอเต๊า ขี้เท่า เต๊าขน (ภาคเหนือ)/ กระรอกขน (ชุมพร)/ กะลอขน กะลอยายทาย (ภาคใต้)/ บาเละอางิง (มลายู-นราธิวาส)/ ปอหุน (ประจวบคัรีขันธ์)/ สละป้าง สละป้างใบใหญ่ (จันทบุรี)/ หญ้าขี้ทูต (สกลนคร)/ หูช้าง (เพชรบุรี)
ชื่อสามัญ
Siamese pom-pom tree
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่ม สูง 6-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวและเกล็ดต่อมสีขาวอมส้มอ่อนปกคลุมหนาแน่น

ใบ: ใบเดี่ยว ออกสลับ บางทีพบตรงข้าม รูปไข่ป้อมหรือค่อนข้างกลม กว้าง 18-20 ซม. ยาว 20-30 ซม. โคนใบกลม ขอบใบจักซี่ฟัน บางที่จักเป็นแฉกตื้นๆ 3 แฉก ปลายใบแหลมยาวเป็นหาง เส้นใบแบบนิ้วมือ มีต่อมสีดำ 4 ต่อมบนเส้นใบ ผิวใบด้านล่างมีขน หนาแน่นบนเส้นใบและมีเกล็ดต่อม

ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้ ยาวถึง 30 ซม. ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้ มีมากกว่า 50 อัน ยาว 2-3 ซม. ช่อดอกเพศเมีย ยาวถึง 40 ซม. ห้อยลง ดอกเพศเมียสีแดงอมเหลือง วงกลีบดอก มี 4-5 กลีบ รังไข่มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมีย แยกเป็น 4 แฉก

ผล: ผลแห้งแก่แล้วแตกตามพู มีขนรูปดาวสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ เป็นมัน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามหุบเขา ภูเขาหินปูน พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ หรือตามข้างทาง ที่ความสูง 200-1300 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด

 

กัมพูชา จีน อินเดีย ชวา ลาว มาเลเซีย พม่า สุมาตรา ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

อินเดีย จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้

เปลือกต้น ลอกออกแล้วใช้ทำเชือกมัดฟืน

ใบ ใช้ห่ออาหารแล้วนำไปหมกไฟช่วยให้มีกลิ่นหอม หรือ ใช้ยัดปากไหหมักเมี่ยงร่วมกับใบส้มป่องช่วยให้เมี่ยงมีรสฝาด กิ่งที่เป็นง่าม ใช้เป็นไม้ค้ำต้นสลี (ต้นโพธิ์) ในพิธีสืบชะตา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ตองเต๊า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2598 (1 มิถุนายน 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ตองเต๊า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=950 (1 มิถุนายน 2560)

Flora of China. “Mallotus barbatus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200012590
(1 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mallotus barbatus Müll.Arg.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-118809 (1 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Mallotus barbatus Müll.Arg.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:351489-1 (1 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้