รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03551


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera foetida Lour.

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

foetida

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
มะมุด
ชื่อท้องถิ่น
มะละมุดไทย มาจัง มาแจ (ใต้)/ มาแจฮุแต (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
Horse mango
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-40 เมตร วัดรอบลำต้น 80-150 ซม. ลำต้นเปลาตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงไม่มีต่อมระบายอากาศ เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแดง เมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นซึมออกมาเป็นเม็ดๆ เนื้อไม้ที่ติดกับเปลือกสีขาวไม่เรียบลักษณะเป็นคลื่นตามยาว

ใบ: ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังเป็นคลื่นแข็งกรอบ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปหอก ขนาดใบกว้าง 4-11 ซม. ยาว 10-32 ซม. โคนใบสอบเบี้ยว ปลายใบเป็นติ่งทู่ๆ ใบพุ่งตั้งชัน เนื้อใบหนามากเกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบมี 12-26 คู่ เรียวโค้งและขนานกัน เส้นร่างแหเห็นไม่ชัด เส้นกลางใบขึ้นเป็นสันทางด้านหลังใบ ก้านใบอวบเป็นร่องทางด้านบน โคนก้านบวม ก้านใบยาว 2-5.5 ซม.

ดอก: มีขนาดเล็ก สีชมพูหรือสีส้มมีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง คล้านช่อมะม่วง ช่อหนึ่งๆ ยาว 7-21 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกสีแดงเข้มกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5กลีบ กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ ขนาด 2-4 มม. ส่วนกลีบดอกรูปหอก ขนาดกว้าง 2.5 มม. ยาว 7-10 มม. เกสรผู้มี 5 อัน ในจำนวนนี้เป็นเกสรผู้ปลอม 4 อัน เกสรผู้แท้ที่เหลืออยู่อันเดียวจะยาวกว่าเกสรผู้ปลอม รังไข่กลม ขนาดกว้าง 1.8 มม. ยาว 2 มม.

ผล: รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ลักษณะเป็นป้อมเบี้ยวๆ เนื้อหนา ขนาดกว้าง 7.5 ซม. ยาว 10.5 ซม. ผลสุก สีเหลืองแกมเขียว ภายในมีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นในป่าดงดิบชื้นที่ลุ่มและป่าพรุ

ถิ่นกำเนิด

ทางภาคใต้ของไทย

การกระจายพันธุ์

อินโดจีน, ไทย, สุมาตรา, คาบสมุทรมาเลเซีย, สิงคโปร์, บอร์เนียวและชวา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ตอนกิ่ง

ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม – มิถุนายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผลดิบ รับประทานเป็นผักสดกับขนมจีน หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเหลือง ยำ

เนื้อในเมล็ด ฝนกับน้ำปูนใสทาบาดแผล

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร. “มะมุด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/hrc/chumphon/index.php?option=com_content&view=article&id=127:2011-07-11-11-04-08&catid=35:2011-02-22-09-59-01&Itemid=77 (6 มิถุนายน 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “มะมุด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://area-based.lpru.ac.th/veg/www/Native_veg/v336.htm (6 มิถุนายน 2560)

National Parks Board. 2013. “Mangifera foetida Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3012 (6 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera foetida Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2362812 (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้