รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03555


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L. 'Kaeo'

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

indica

Variety

Kaeo

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะม่วงพันธุ์แก้ว
ชื่อท้องถิ่น
มะม่วงบ้าน(ภาคอีสาน)
ชื่อสามัญ
Mango tree Kaeo
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มะม่วงแก้ว เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 15-20 ม. ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ เป็นทรงพุ่มกลม กิ่งหลัก และกิ่งแขนงมีมาก จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกลำต้นแตกร่องเป็นแผ่นสะเก็ด สีเปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา

ใบ ใบมะม่วงแก้ว ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามปลายกิ่ง ใบมีก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 3-6 ซม. ใบมีรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 10-25 ซม.

ดอก มะม่วงแก้ว ออกดอกเป็นช่อแขนง แทงออกบริเวณยอดกิ่ง แต่ละช่อแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก โดยเป็นดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ ซึ่งอยู่ในช่อเดียวกัน

ผล ผลมะม่วงแก้ว มีรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ขนาดผลประมาณ 3.5-5 ซม.ยาวประมาณ 5-8 ซม. น้ำหนักประมาณ 200 – 300 กรัม/ผล เปลือกผลบาง ประมาณ 0.12 ซม. เนื้อผลดิบค่อนข้างเหนียว มีรสเปรี้ยว และส่งกลิ่นหอม เนื้อผลสุกอ่อนนุ่ม และฉ่ำน้ำ มีเส้นใยบริเวณเปลือกด้านใน เนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม เมื่อสุกจัดจะมีรสหวาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

มะม่วงแก้วเป็นพืชท้องถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พบได้ในแถบประเทศพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา โดยในไทยพบมากที่สุดในภาคอีสาน รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และกลาง ส่วนภาคใต้พบได้น้อย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ ตอนกิ่งและเสียบยอด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
มกราคม-กุมภาพันธุ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกประดับสถานที่ และให้ร่มเงา นอกจากนี้ยังสามารถเก็บเกี่ยวผลทั้งสุกและดิบ และใบอ่อนนำไปรับประทาน และหลายส่วนของต้นสามารถนำไปทำเป็นยาสมุนไพรได้

-เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานทั้งผลดิบ และผลสุก เพราะผลดิบมะม่วงแก้วมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน นอกจากนั้น ยังนิยมนำมาแปรรูปทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม สำหรับบริโภคในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Puechkaset.com. 2560. “มะม่วงแก้ว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://puechkaset.com/มะม่วงแก้ว/ (21 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2362842 (21 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้