รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03557


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L. 'Khiao Sawoei'

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

indica

Variety

Khiao sawoei

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Mango tree Khiao Sawoei
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มะม่วงเขียวเสวย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-25 ปี ลำต้นสูงประมาณ 5-15 ม. ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา

ใบ ใบมะม่วงเขียวเสวย ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 15-20 ซม. โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจน

ดอก ออกดอกเป็นช่อแขนง ซึ่งแต่ละแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยในช่อเดียวกันจะมีดอก 2 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ซึ่งมีจำนวนมาก (91.80%) และดอกกะเทย (8.20%) ที่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้ติดผลน้อย ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวย เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ดอกมะม่วงเขียวเสวยหลังการผสมเกสรแล้ว ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรจะร่วงหล่นไปหมด คงเหลือรังไข่ที่พัฒนาเป็นผลรูปไข่ขนาดเล็ก และจานดอกที่เหี่ยวแห้งติดด้านล่างผล

ผล มีลักษณะรียาว และแบนเล็กน้อย บริเวณขั้วผลมีขนาดใหญ่ และค่อยเล็กลงไปด้านท้ายด้านหลังผลมีลักษณะนูนออก และด้านหน้าผลคอดเล็กลง ขนาดผลกว้างประมาณ 5-7 ซม. ยาวประมาณ 10-15 ซม. มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 300-335 กรัม ผลมะม่วงเขียวเสวย เมื่อยังอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อผลมีสีขาว และมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่ เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล ส่วนเนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุก เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย

เมล็ด ส่วนเมล็ดด้านในมีลักษณะเรียวยาว และค่อนข้างแบนตามลักษณะของผล เปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง และมีร่องเป็นริ้วตามแนวตั้ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เป็นมะม่วงท้องถิ่นที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

พันธุ์การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เสียบยอด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม -กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน - พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

1. มะม่วงเขียวเสวย นิยมรับประทานผลดิบแก่เป็นหลัก เพราะเนื้อผลหนา กรอบ และมีรสหวานมัน นอกจากนั้น ยังนิยมรับประทานผลสุกเช่นกัน ด้วยเนื้อผลสุกมีรสหวาน เนื้อแน่นเหนียว ไม่เละง่าย
2. มะม่วงเขียวเสวยสุก มีเนื้อสีเหลืองทองนิยมใช้ทำข้าวเหนียวมะม่วง
3. มะม่วงเขียวเสวยสุก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงแผ่น เป็นต้น
4. ก้านยอดอ่อนหรือยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่นๆ
5. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ผ้าที่ย้อมได้สีน้ำตาล
6. เนื้อไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ รวมถึงใช้เป็นท่อนไม้สำหรับการเพาะเห็ด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Puechkaset.com. 2560. “มะม่วงเขียวเสวย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://puechkaset.com/มะม่วงเขียวเสวย/ (21 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2362842 (21 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้