รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03569


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L. 'Ok Long'

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

indica

Variety

Ok Long

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะม่วงพันธุ์อกร่อง
ชื่อท้องถิ่น
มะม่วงพันธุ์อกร่องเขียว
ชื่อสามัญ
Mango tree Ok Long
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: มะม่วงอกร่อง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-25 ปี ลำต้นเพลาตรง สูงประมาณ 5-15 ม. ลำต้นแตกกิ่งหลัก และกิ่งแขนงมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นสีเทาอมดำ

ใบ: ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับบนปลายกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 15-20 ซม.

ดอก: มะม่วงอกร่อง ออกดอกเป็นช่อแขนงที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อแขนงมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ทั้งนี้ ดอกมะม่วงอกร่องมีดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ทำให้มะม่วงอกร่องติดผลดก และติดผลได้มากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ

ผล: ผลมะม่วงอกร่อง มีรูปไข่ อวบใหญ่ และค่อนข้างแบนเล็กน้อย ส่วนบนบริเวณขั้วมีขนาดใหญ่ ด้านหน้าผลโค้งนูน และค่อยเล็กคอดลงทางปลายผลด้านล่าง โดยพันธุ์ดั้งเดิมจะมีร่องตื้นในแนวตั้งตรงกลางบริเวณด้านหน้าผล ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 5-10 ซม. มะม่วงอกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม เนื้อผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมเช่นกัน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และมากกว่ามะม่วงทุกชนิด  ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายผลด้านนอก คล้ายรูปไต มีลักษณะแบน ส่วนขั้วเมล็ดใหญ่ และหนา 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในทุกภาค พบมากในภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ส่วนมากพบปลูกตามหัวไร่ปลายนา และปลูกเพื่อการค้าในแปลงใหญ่บ้าง

ถิ่นกำเนิด

เป็นมะม่วงท้องถิ่นในไทย

การกระจายพันธุ์

พันธุ์การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เสียบยอด

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม - มิถุนายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

มะม่วงอกร่องสุก นิยมใช้ทำข้าวเหนียวมะม่วง รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ ไวน์มะม่วง และมะม่วงกวน 

มะม่วงอกร่องดิบ ใช้รับประทานเป็นผลไม้เปรี้ยว จิ้มพริกเกลือหรือน้ำปลาหวาน รวมถึงในทำอาหารหลายชนิด อาทิ ข้าวคลุกกะปิ น้ำพริก และใส่ในยำต่างๆ

เนื้อไม้จากลำต้นที่มีขนาดใหญ่ นำมาเลื่อยแปรรูปเป็นไม้แผ่นปูบ้าน ไม้แผ่นฝ้า วงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ต่างๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2557. “"มะม่วงอกร่องเขียว" ค่านิยมน้อยลง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/180897 (6 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “มะม่วงอกร่อง สรรพคุณ และการปลูกมะม่วงอกร่อง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/มะม่วงอกร่อง/ (6 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2362842 (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้